40 Weeks

มัมสเตอร์ สรุปประเด็นสำคัญจากสัมมนาออนไลน์ นำโดย นายแพทย์อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 3

ในสถานการณ์บ้านเมือง ไวรัสระบาด และเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก สร้างความเครียดให้หลายคนไม่น้อย โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอดที่อินกับอารมณ์และความรู้สึกมากเป็นพิเศษ จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดประสบปัญหา ภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด PPD Postpartum depression กันได้ง่ายขึ้น

ส่วนหนึ่งของท้องแตกลายไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์เท่านั้น แต่การดูแลผิวบริเวณครรภ์ก็มีส่วนที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการท้องแตกลายได้

ในสถานการณ์ที่เชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง “คุณแม่ตั้งครรภ์” คือคนอีกกลุ่มที่เกิดความกังวลใจไม่น้อย ถ้าเกิดติดเชื้อไวรัสจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ต้องยุติการตั้งครรภ์หรือเปล่า หรือจะสามารถให้นมลูกได้อยู่ไหม

แม่สายอีเว้นท์เวลาตั้งท้องปรับตัวกันยังไง...นี่แม่นะ!! เป็นคนทำงานเกี่ยวกับการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ หนีไม่พ้นที่จะต้องทำหน้าที่ Backstage ประสานงานโน่นนี่นั่น เดินอยู่ทั้งหน้าและหลังเวที พอรู้ว่าตั้งท้องความคล่องตัวเริ่มลดลง จากที่เคยวิ่งตามนางแบบ ตามเจ้าหน้าที่ให้พร้อม ก็ต้องทำตัวเองให้ช้าลง ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์

หลังจากคลอดลูก แม่มือใหม่หลายคนมักจะอยากกินโน่น นี่ นั่น ที่ตัวเองอดทนไม่กินอาหาร เครื่องดื่มที่จะทำให้มีผลกระทบกับลูกน้อยในท้อง ...เก้าเดือนเป็นความอดทนที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์แม่อย่างแท้จริง นี่แม่นะ!...เคยยอมอดกาแฟดำ นานถึงเก้าเดือน (เหล่าม่ามักจะบ่นเวลาเห็นนี่แม่นะกินกาแฟดำช่วงที่ยังไม่ท้อง ท่านมักจะบอกว่าเดี๋ยวไส้ลื้อก็ดำหมดหลอก555)

อาหารจานเดียวที่ครบ จบ ในหนึ่งมื้อ ที่ทานได้ทั้งครอบครัวเช่นเดิมค่ะ แต่ขอแอบเอาใจคุณแม่ตั้งครรภ์หน่อยนะคะ เพราะจะเปลี่ยนผักจากถั่วงอกมาใช้ใบกุยช่ายแทน

ช่วงเวลานี้ในร่างกายของคุณจะเกิดกระบวนการไข่สุกขึ้น ไข่ใบหนึ่งในรังไข่จะมีถุงเล็กๆ ก่อตัวขึ้นพร้อมกับมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน ถุงน้ำนี้ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน ....

หลังมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ อสุจินับล้านๆ ตัวจากน้ำกามของคุณพ่อจะเดินทางจากช่องคลอดเข้าสู่ท่อรังไข่ แต่จะมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ที่สามารถเจาะเยื่อหุ้มไข่ในรังไข่ของคุณแม่ได้ และเมื่อการปฏิสนธิเกิดขึ้น ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งไปหยุดกระบวนการที่ทำให้ไข่ใบต่อไปเจริญเติบโต

ช่วงที่ไข่หลังการปฏิสนธิฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก อาจเป็นผลให้คุณรู้สึกปวดถ่วงๆ ที่ท้อง ในช่วงใกล้รอบเดือนปกติของคุณ และบางครั้ง คุณอาจสังเกตเห็นมีคราบเลือดเปื้อนชุดชั้นในกะปริดกะปรอยร่วมด้วย อาการปวดที่เกิดขึ้นจะหายไปได้เอง แต่หากคุณทนไม่ไหว คุณอาจลงไปนอนแช่ในน้ำอุ่นดูสักพักก็จะหายได้เหมือนกันค่ะ

หลังจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก มดลูกของคุณจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น และนุ่มขึ้น เนื้อบริเวณปากมดลูกค่อยๆ เปลี่ยนไป ขณะที่ไข่มีการแบ่งตัวจนกลายเป็นตัวอ่อน จากนั้นตัวอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนตั้งครรภ์เข้าไปในกระแสเลือดของคุณ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นมีผลต่อระบบประสาทสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสาทการรับรู้กลิ่น ในช่วงสัปดาห์นี้....

อาการคลื่นเหียน หรือที่เรียกว่าอาการแพ้ท้อง ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก อาจมีอาการเล็กน้อย นอกจากนี้อาจมีอาการเจ็บคัดที่เต้านม เนื่องจากต่อมผลิตน้ำนมเริ่มทำงาน รู้สึกเหนื่อยเพลีย เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่หลั่งออกมาเพิ่มขึ้น ระหว่างนี้จึงยังควรต้องพักผ่อนให้มาก

ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น คุณจะรู้สึกว่าหน้าอกขยายออกเรื่อยๆ และตึงคัด สีผิวรอบๆ หัวนมเริ่มมีสีคล้ำขึ้น หากคุณยังไม่มีอาการแพ้ท้องในสัปดาห์ก่อน รับรองว่าสัปดาห์นี้คุณไม่รอดแน่ แต่ก็มีบ้างเหมือนกัน ที่คุณแม่บางรายก็ไม่มีอาการอะไรเลย แต่คุณพ่อกลับมีอาการซะเอง แบบที่ชาวบ้านเขาเรียกกันว่าแพ้ท้องแทนเมียนั่นล่ะค่ะ นอกจากนี้ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นสูง จะทำให้ระดับอารมณ์ของคุณขึ้นๆ ลงๆ ไม่เป็นปกติ...

คุณเริ่มมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมากขึ้น  จมูกไวต่อกลิ่นต่างๆ รู้สึกเบื่ออาหาร จนถึงอาเจียน ไม่มีใครรู้ได้ว่าอาการเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอะไร แต่สามารถอธิบายตามทฤษฎีได้ว่า น่าจะเป็นเพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ความเครียด และความเหนื่อยอ่อน หรือแม้กระทั่งความกังวลในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของลูกในท้อง เหล่านี้ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ง่าย

คุณจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียอยู่เสมอ  เพราะร่างกายของคุณกำลังทำงานหนักเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์  อัตราการเต้นของหัวใจเร็วถี่ขึ้น อัตราการเกิดกระบวนการเผาพลาญอาหารไปเป็นพลังงานเพิ่มสูงขึ้นถึง 25% ดังนั้นคุณจึงควรพักผ่อนให้มากๆ อาการเหล่านี้จะหายไปได้เองภายหลังสัปดาห์ที่ 12

สะโพกเริ่มขยาย ถึงแม้เอวจะเริ่มคับแน่น แต่คุณก็ยังดูไม่เหมือนคนท้องสักเท่าไรหรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากนี่เป็นท้องแรกของคุณ มดลูกของคุณจะขยายใหญ่ขึ้นเท่าตัวเนื่องจากการตั้งครรภ์ และจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ จึงเป็นธรรมดาที่คุณจะรู้สึกเจ็บ หรือขัดเวลาปัสสาวะ แต่ถ้าคุณรู้สึกเจ็บมาก และเป็นบ่อยครั้ง คุณควรแจ้งให้คุณหมอที่รับฝากครรภ์ทราบด้วย

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จะทำให้คุณมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย แปรปรวนง่าย เพราะความกังวลต่อภาระความเป็นแม่ในอนาคต ในช่วงนี้คุณหมอที่รับฝากครรภ์จะทำการตรวจหาความผิดปกติภายในครรภ์ของคุณ พยายามทำจิตใจให้สบาย อย่าเป็นกังวลมากนัก หากคุณสงสัยอะไรให้ปรึกษาหมอที่รับฝากครรภ์ แล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทุกอย่างก็จะเป็นไปด้วยดี

อัตราการเผาผลาญอาหารที่เพิ่มขึ้นทำให้คุณจะรู้สึกกระหายน้ำมากกว่าปกติ  นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายมีความต้องการน้ำมากขึ้น แน่นอนว่าคุณยังคงต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นต่อไปอีก คุณอาจยังรู้สึกว่ามือ และเท้าของคุณอุ่นขึ้น เนื่องจากระดับเลือดมีอุณหภูมิสูงขึ้น 40-50%

ใน 3 เดือนแรก เป็นช่วงที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะเป็นช่วงที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ของทารกกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ ดังนั้นคุณหมอจะต้องตรวจเลือด และซักประวัติสุขภาพของคุณอย่างละเอียด ซึ่งถ้าหากคุณผ่านพ้นช่วงนี้มาได้แล้ว นั่นหมายความว่า ความเสี่ยงต่อการแท้งจะลดลง 65% ตอนนี้ อาการแพ้ท้องต่างๆ จะลดลงด้วยเช่นกัน คุณจะเริ่มรู้สึกสบายขึ้น มีเพียงหน้าท้องเท่านั้นที่ขยายออกเรื่อยๆ

ระบบการย่อยอาหารของคุณช้าลง  คุณอาจเกิดอาการท้องผูกขึ้นได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อในลำไส้มีการทำงานที่ช้าลง ทำให้อุจจาระแข็ง และแห้ง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นทำให้เกิดแรงกดไปที่กระเพาะอุจจาระทำให้การทำหน้าที่ต่างๆ ภายในร่วนไปหมด คุณควรดื่มน้ำมากๆ (ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน) กินผักผลไม้ดิบ หรือผลไม้แห้ง และหาเวลาออกไปเดินออกกำลังกายบ้าง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้