Last updated: 3 เม.ย 2565 |
ในสถานการณ์บ้านเมือง ไวรัสระบาด และเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก สร้างความเครียดให้หลายคนไม่น้อย โดยเฉพาะคุณแม่หลังคลอดที่อินกับอารมณ์และความรู้สึกมากเป็นพิเศษ จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดประสบปัญหา ภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด PPD Postpartum depression กันได้ง่ายขึ้น
ซึ่งอาการเหล่านี้หากปล่อยไว้ หรือนิ่งนอนใจเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เพราะฉะนั้น มาดูสาเหตุ ลักษณะอาการ และการรับมือกันค่ะ
สาเหตุ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย สภาวะทางอารมณ์และจิตใจ หรืออาจเกิดได้จากสถานการณ์และปัญหาต่างๆ ที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน และมักจะแสดงอาการ 3 วัน ขึ้นไป บางครั้งกินระยะเวลาเป็นเดือนๆ แต่หลายคน อาจจะสับสันระหว่าง ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด และภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาการและระดับความรุนแรงจะแตกต่างกัน
1. อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue)
โดยภาวะนี้จะมีอาการไม่รุนแรง ไม่กระทบต่อการดูแลเด็ก และมักพบได้บ่อยมากถึง 40-80% ของผู้หญิงหลังคลอด ซึ่งสามารถหายเองได้ โดยจะมีพฤติกรรมของอารมณ์เศร้าหลังคลอด เช่น วิตกกังวล จิตใจอ่อนไหว หงุดหงิดง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) คุณแม่หลังคลอดที่มีอาการนี้ เช่น ซึมเศร้า-หดหู่ ไม่มีความสุข มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ปวดศีรษะเรื้อรัง เชื่องช้า รู้สึกไร้ค่า ควรได้เข้ารับการรักษาเพราะอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
พักสายตา ฟังบทความนี้แบบ Audiobook คลิกเลยค่ะ
14 พ.ย. 2567
9 ต.ค. 2567