Last updated: 4 ก.ย. 2566 |
สำหรับผู้หญิง ‘การตั้งครรภ์’ นับเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และแน่นอนว่าผู้หญิงหลายล้วนแต่รอคอยช่วงเวลานี้ ซึ่งตลอดการตั้งครรภ์ของผู้หญิงทุกคนจะต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อารมณ์รวมถึงจิตใจ
คุณแม่จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลและติดตามอาการโดยคุณหมออย่างใกล้ชิด เพื่อให้การตั้งครรภ์ของคุณแม่ราบรื่นที่สุด
โดยมัมสเตอร์มีคำแนะนำจาก รศ.นพ.สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์ ผู้อำนวยการ “ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เจ้าพระยา-จินตบุตร" โรงพยาบาลเจ้าพระยา ที่คุณหมอได้แนะนำไว้ใน Live หัวข้อ “อยากท้องก็ยาก ท้องแล้วก็กังวล” หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นะคะ
Q : ตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ กับ ตั้งครรภ์ด้วยวิธีไม่ธรรมชาติ คืออะไร ต่างกันอย่างไร
A : โดยพื้นฐานการตั้งครรภ์เป็นเรื่องของธรรมชาติโดยแท้ ซึ่งกระบวกการธรรมชาติเกิดขึ้นได้จากการที่อสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในช่วงวันไข่ตก ซึ่งผู้หญิงจะมีการตกไข่เดือนละ 1 วัน ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้ก็มีอาการที่จะมีลูกโดยธรรมชาติได้
ในขณะเดียวกันสำหรับคนที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ธรรมชาติได้ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นช่วย ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กึ่งธรรมชาติ และใช้เทคโนโลยี
· กึ่งธรรมชาติ คือ การกระตุ้นการตกไข่ด้วยวิธีทานยาหรือฉีดยาเร่งการตกไข่ การคัดอสุจิผสมเทียมฉีดในวันที่มีไข่ตก
· การใช้เทคโนโลยี คือ การนำเอาไข่ออกจากร่างกาย เพื่อนำมาปฏิสนธิกับอสุจิข้างนอก หรือที่เรียกว่าเด็กหลอดแก้ว ซึ่งวิธีนี้จะมีการกระตุ้นการตกไข่ร่วมด้วย
Q : การตั้งครรภ์ด้วยวิธีไม่ธรรมชาติ มีวิธีไหนบ้าง
A : IUI หรือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง
ICSI หรือ การฉีดอสุจิที่แข็งแรงเข้าไปในโพรงมดลูกในช่วงไข่ตก
IVF หรือ การทำเด็กหลอดแก้ว
Q : คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีไม่ธรรมชาติ จะต้องดูแลครรภ์ในแต่ละไตรมาสอย่างไร
A : ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ไม่ธรรมชาติอาจจะมีความแตกต่างจากการตั้งครรภ์ธรรมชาติ เพราะว่าช่วงนี้คุณแม่จะได้รับยาบางชนิดเพื่อใช้ฮอร์โมนในการพยุงการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในช่วงนี้จะต้องได้รับการดูแลติดตามอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ
Q : การฉีดวัคซีนของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีไม่ธรรมชาติ แตกต่างจากวิธีธรรมชาติอย่างไร
A : เรื่องการฉีดวัคซีนจะไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ เพราะการฉีดวัคซีนกับคุณแม่ตั้งครรภ์มีวัตถุประสงค์เพื่อปกกันการติดเชื้อบางชนิด ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ก็อาจจะส่งผลเสียทั้งต่อแม่และเด็ก
คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นจะต้องดูวัคซีนที่ฉีดด้วยเพราะวัคซีนบางตัวห้ามฉีดในคนท้อง เช่น หัดเยอรมัน อีสุกอีใส ค้างทูม ซึ่งอันตรายของวัคซีนเหล่านี้คือสามารถทำให้เด็กพิการตั้งแต่กำเนิดได้ ในส่วนของวัคซีนที่คุณหมอแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ วัคซีนบาดทะยัก วัคซีนคอตีบ ไอกรน วัคซีนไข้วัดใหญ่ วัคซีนโควิด
Q : การดูแลครรภ์ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ธรรมชาติ ทำอย่างไร
A : คุณแม่ที่ตั้งครรภ์โดยวิธีไม่ธรรมชาติส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่มีอายุเริ่มมาก ทำให้สุขภาพโดยรวมของคุณแม่จะไม่ค่อยแข็งแรงนัก หรือบางคนก็อาจจะมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ความดันสูง ซึ่งค่อนเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือน้ำตาลขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และรกเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยคุณหมอ
และสิ่งที่สำคัญมากของการดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะถ้าคุณแม่พักผ่อนเพียงพอ เลือดจะไหลเวียนไปเลี้ยงรกได้ดี ในทางตรงกันข้ามถ้าเกิดเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรกไม่พอ เด็กก็อาจจะเกิดอยู่ในสภาวะขาดอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือดูแลเรื่องอาหาร คุณแม่จำเป็นจะต้องทานอาหารที่มีสารอาหารที่ครบถ้วน ลดการทานของหวานหรืออาหารที่ปริมาณน้ำตาลสูง รวมถึงคุณแม่ควรมีออกกำลังกายเบาๆ ร่วมด้วย
Q : อาการท้องผูกในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ธรรมชาติ การเบ่งถ่ายส่งผลต่อเด็กในครรภ์หรือไม่
A : โดยธรรมชาติคนท้องมักจะมีอาการท้องผูกร่วมด้วย แต่ทั้งนี้การเบ่งถ่ายของคุณแม่จะไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่ท้องธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติ จำเป็นต้องใส่ใจในการเลือกอาหารที่จะช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น คุณหมอแนะนำเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์ มีกากใยสูง การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หรือจะดื่มน้ำลูกพรุน รวมถึง Lactis ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการขับถ่ายของคุณแม่ได้มากเลยทีเดียว
การดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงเป็นถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
29 ก.ย. 2566
9 ต.ค. 2567