Last updated: 20 ก.ค. 2565 |
แต่ละครอบครัวก็จะมีวิธีรับมือที่แตกต่างกันออกไป และส่วนใหญ่จะเลือกรับมือตามช่วงวัยของเด็ก เช่น ถ้ายังเล็กก็ต้องใช้ความพยายามในการพูดให้เด็กๆ เข้าใจว่าทำไมถึงไม่ควรทำพฤติกรรมเช่นนี้ หรือจะการทำเช่นนี้จะส่งผลในอนาคตยังไง ถ้าโตแล้วก็อาจจะมีกฎกติกาในการลงโทษอย่างชัดเจน และพ่อแม่ต้องไม่ลืมที่จะรับฟัง ซักถามเหตุหรือผล ก่อนที่จะมีการลงโทษหรือว่ากล่าวตักเตือน
ถ้าไม่ตีจะดีที่สุด
เพราะการตีจะทำให้ลูกเก็บกดและเกิดการต่อต้านพ่อแม่ และถ้าพ่อแม่ลงโทษลูกด้วยการตีทุกครั้ง ความต่อต้านก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลูกไม่เปิดใจให้กับพ่อแม่
คุยอย่างใจเย็น
การเลือกสถานที่และจังหวะเวลาที่ดีในการว่ากล่าวตักเตือน จะทำให้ลูกเปิดใจรับฟังพ่อแม่มากขึ้น และเขาจะค่อยๆ ตกกระกอนความคิด แต่สิ่งสำคัญนอกจากการสั่งสอนแล้ว ถ้าหากลูกอยากแสดงความรู้สึก หรือความคิดเห็น พ่อแม่จะต้องเปิดใจรับฟังอยู่ด้วย
อบรมสั่งสอน
ด้วยวิธีการที่อ่อนโยนไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช่ไปด่าหรือว่าด้วยคำพูดที่จะทำให้ลูกเสียความรู้สึก ทางที่ดีครอบครัวจะต้องมีกฎกติกาไว้สำหรับลงโทษ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าจะมีผลของการกระทำที่ไม่ดีเสมอ
"การที่เด็กๆทำผิด จะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อลูกทำผิด พ่อแม่ต้องไม่ปกป้องลูกในทางที่ผิด"
พักสายตา ฟังบทความใน Audiobook คลิก
22 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567
3 ต.ค. 2567
27 ก.ย. 2567