Last updated: 19 ก.พ. 2565 |
“ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ” แค่เป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ลูกพอใจ…พ่อแม่ก็ดีใจแล้ว
การเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ อาจไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายเท่าไหร่ หากเราเรียนรู้ที่จะใช้จุดแข็งของตัวเองอย่างถูกต้อง และใส่ใจในผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง ที่อาจจะตามมา “เมื่อเราเป็นคนที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ”
.
หลายครั้งที่เด็กๆ ปกปิดตัวตนที่แท้จริงของตัวเองจากคนอื่น แล้วพยายามเป็นใครสักคนที่ Perfect เพราะหวาดกลัวลึกๆ ว่า ถ้าเป็นตัวเองแล้วคนอื่นอาจจะไม่ยอมรับ จึงปกปิดด้านที่ไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองไว้ และนั่นสามารถสร้างความรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่รักและไม่ยอมรับในตัวเองให้กับเด็กคนนึงได้
.
และยังส่งผลไปถึงการทำงานในอนาคต เพราะเด็กที่คาดหวังในความสมบูรณ์แบบตลอดเวลา พวกเค้ามักจะขาดความยืดหยุ่น และความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมถึงยังสร้างความกดดันในการทำงานให้กับเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย
การที่เด็กคนนึงเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) เกิดจาก…
1. กลัวไม่ได้รับการยอมรับจากพ่อแม่
2. จะได้รับคำชมจากพ่อแม่ ก็ต่อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อประสบความสำเร็จ
3. ได้รับคำชมที่มากเกินไป
4. การเลี้ยงดูแบบสร้างเงื่อนไขให้ลูก ว่าจะต้องประสบความสำเร็จเท่านั้น
5. เป็นเด็กที่เอาความสำเร็จในอดีตมาเป็นมาตรฐาน
6. พ่อแม่ที่เคร่งครัด แสดงความไม่พอใจ ไม่ยอมรับ ในความไม่สมบูรณ์แบบของลูก
7. อิทธิพลจากสื่อ หนัง หรือภาพชีวิตที่ไม่ตรงกับพื้นฐานของความเป็นจริง
วิธีสังเกตมนุษย์สมบูรณ์แบบ
1. มักมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอตลอดเวลา
2. กลัวความผิดหวัง ความล้มเหลว
3. มักจะเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจจะทำให้ล้มเหลว
4. ไม่กล้าลงมือทำอะไรใหม่ๆ
5. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือความรู้สึกตรงไป ตรงมาได้
6. มีนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง
7. คาดหวังในผลลัทธ์ของสิ่งต่างๆ มากกว่าความสุขระหว่างทาง
8. ไม่ภูมิใจในตัวเอง
อย่างที่ได้เปิดประเด็นขึ้นมาว่า ถ้าสิ่งที่ทำให้พ่อแม่มีความสุข คือการเห็นลูกมีความสุข เพราะฉะนั้นลูกจึงไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ ไปเสียทุกอย่างก็ได้
แค่ในวันนี้
…ลูกสามารถมีชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ “รู้จักรักและรู้จักโอบกอดตัวเอง” ในวันที่อะไรๆ ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้
…ลูกยังมีแรงสู้อีกครั้ง ถ้ามีเรื่องที่ทำให้ “พัง” จากเมื่อวาน
พักสายตา.. ฟังบทความนี้ใน Audiobook คลิก
4 ก.ย. 2567
5 ส.ค. 2567
26 ส.ค. 2567
23 ก.ค. 2567