พ่อแม่จะสามารถสร้าง "Grit หรือนิสัยสู้ไม่ถอย" ให้กับลูกได้อย่างไร

Last updated: 30 ส.ค. 2565  | 

 

จริงๆแล้ว Grit ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวของเราทุกคน เพราะว่า Grit คือคุณสมบัติอย่างนึงที่จะพาเราไปสู่เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ “สรุปง่ายๆได้ว่า Grit คือความอดทน ความไม่ยอมเเพ้ต่ออุปสรรรคที่ขวางกั้น และความเพียรพยายามที่จะพาตัวเองไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้”


Grit จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะกับเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่กำลังเรียนรู้และสร้างตัวตนของตัวเอง และการที่เด็กจะเติบโตมาในรูปแบบที่ดี จำเป็นต้องอาศัยการบ่มเพาะ การส่งเสริม การปรับนิสัย ผ่านประสบการณ์และทัศนคติที่ได้รับจากครอบครัว


มาดูกันค่ะ ว่าพ่อแม่ สามารถสร้าง Grit ได้อย่างไรบ้าง

 

1. เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาความชอบ ได้วางเป้าหมาย และได้พัฒนาตัวเอง ด้วยการพูดคุยกับลูกว่าตอนนี้มีสิ่งไหนที่เขากำลังสนใจ และอยากจะเรียนรู้ให้มากขึ้น หรืออาจจะพูดคุยถึงความฝันในอนาคตของเขา “ว่าโตขึ้นอย่างเป็นอะไร” และเมื่อมีเป้าหมายแล้ว พ่อแม่ลองมาคุยถึงวิธีที่จะพาลูกไปสู้เป้าหมายนั้น ระหว่างที่เรากำลังพาเขาไปก้าวไปสู่เป้าหมาย เขาจะได้เรียนรู้ที่จะอดทน มุ่งมั่น พยายาม


2. เล่าแนวคิดของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตให้ลูกฟัง จะเป็นเรื่องราวของคนใกล้ตัว หรือเรื่องราวของคนดังอย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก, บิล เกตส์, เจ.เค. โรว์ลิง หรือผู้พันแซนเดอร์ส นอกจากความสำเร็จของคนเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกได้แล้ว สิ่งที่ลูกจะได้เรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ ทุกคนล้วนไม่กลัวที่จะล้มเหลว


3. ปล่อยให้ลูกได้เจอปัญหาด้วยตัวเองบ้าง เพราะการได้เจอปัญหาจะทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามผ่านมันไป เเต่การจะก้าวผ่านปัญหาไปได้ อาจจะต้องใช้ความอดทน ความพยายามอย่างมาก และถ้าลูกสามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว พ่อแม่ต้องชื่นชมในความพยายามของลูก เพื่อให้เขามีกำลังใจที่จะก้าวผ่านทุกปัญหาในอนาคต


4. ชื่นชมในความพยายามมากกว่าความเก่ง คือต่อให้ลูกจะยังทำไม่สำเร็จ แต่พ่อแม่ก็ควรที่จะชื่นชมในความพยายามของลูก ชื่นชมในความอดทน ชื่นชมในความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคของลูก เพราะคำพูดเหล่านี้จะสร้างความมั่นใจในการไปสู่เป้าหมายของลูก

 

เป็นเรื่องที่ดีที่พ่อแม่ให้ความสำคัญการเลี้ยงลูกให้มีทักษะที่หลากหลายมากขึ้น เพราะปัจจุบันการประสบความสำเร็จไม่ได้วัดกันที่ความเก่ง ความฉลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 

 

 

 พักสายตา ฟังบทความนี้ แบบ Audiobook คลิกเลยค่ะ

 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้