Last updated: 3 เม.ย 2565 |
Growth mindset เป็นศาสตร์ที่ถูกคิดขึ้นโดย Dr. Carol Dweck จากมหาวิทยาลัย Stanford ผู้ทำงานวิจัยด้านนี้มายาวนานและพบว่า สิ่งที่ทำให้เด็กคนหนึ่ง (รวมถึงผู้ใหญ่ด้วย) ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่ IQ ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็น "วิธีคิด"
ความแตกต่างของ Fixed Mindset และ Growth mindset
Fixed Mindset
คือเด็กที่เชื่อว่าการประสบความสำเร็จของคนเรา มาจากความฉลาดที่ได้มาติดตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อะไรที่ต้องใช้ความพยายาม แปลว่าไม่มีความสามารถในสิ่งนั้นจริง ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ เช่น ดูฉลาด ดูเจ๋ง เชื่อว่าความล้มเหลวคือสิ่งที่บอกถึงการไม่มีความสามารถ
Growth Mindset
คือเด็กที่เชื่อว่า ความสำเร็จของคนเราเกิดจากความตั้งใจและเพียรพยายาม ความสามารถของคนเราไม่ใช่เรื่องของสมองที่ตายตัว แต่เป็นเรื่องที่สมองของเรา"พัฒนาได้" จากการเรียนรู้สิ่งใหม่ ทำซ้ำๆ มุ่งมั่น พยายาม และความล้มเหลวเป็นเพียงหนทางหนึ่งของการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดแบบนี้ทำให้เด็กกล้าเผชิญปัญหา กล้าท้าทายตัวเอง ชอบลองอะไรใหม่ๆ พยายามทำและมุ่งมั่นไม่ท้อถอย
เด็กที่ถูกเลี้ยงดูให้มีทัศนคติแบบ Growth Mindset
การสร้างลูกให้เป็นเด็กที่มีความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset
1. โฟกัสที่ความพยายาม แทนการชมว่าเก่ง
เมื่อลูกทำสิ่งใดได้ดี พ่อแม่มักจะชมว่าลูกเก่ง ลูกมีความสามารถ แต่การชมแบบนั้นอาจทำให้ลูกเข้าใจว่า หากเขาไม่เก่ง เขาจะไม่ได้รับการยอมรับชื่นชมจากคุณ ดังนั้นลองเปลี่ยนวิธีการชื่นชมลูกใหม่ เช่น แทนที่จะชมว่าลูกดี ฉลาดหรือเก่ง ให้ชมว่าลูกมีความพยายามและตั้งใจดีมาก ลูกมีความอดทนมาก แทนดีกว่า
.
2. สอนให้ลูกเข้าใจความผิดพลาดและเรียนรู้มัน
เมื่อลูกทำอะไรผิดพลาดลงไป สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำก็คือ คุณต้องใจเย็น ๆ และไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่านี่คือตราบาปที่จะติดตัวเขา หรือการกระทำของเขาคือจุดสิ้นสุดของทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ควรสอนให้เขายอมรับในความผิดพลาดนั้น และเรียนรู้จากมันเพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป
.
3. ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ทำ
ในวันที่ลูกล้มเหลว ให้พ่อแม่สอนลูกเสมอว่า ลูกไม่ได้ทำสิ่งนั้นไม่ได้ เราแค่ยังทำไม่ได้ในตอนนี้ก็เท่านั้น หากเราฝึกฝนอย่างดีพอ มีความตั้งใจมากพอ สักวันเราจะทำสิ่งนั้นได้อย่างแน่นอน แล้วลูกจะเข้าใจว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จในอนาคต
.
4. ให้ลูกได้เผชิญปัญหาด้วยตัวเองบ้าง
พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แม้จะดูช้าจนขัดใจคุณพ่อคุณแม่อยู่บ้าง หรือดูไม่สมบูรณ์แบบดังที่คุณคิด แต่ก็ขอให้อดทนเฝ้าดูเขาทำสิ่งต่าง ๆ นั้นอย่างใจเย็น คอยให้กำลังใจเขา คอยชื่นชมในความพยายามของเขา เพื่อให้เขาได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
.
5. ผลักดันให้ลูกลองทำสิ่งใหม่ ๆ
ทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือทำ พ่อแม่จึงควรสนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ และมีการพัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งลูกจะเติบโตเป็นคนที่พร้อมเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างมีความสุขได้เอง
พักสายตา ฟังบทความนี้ใน Audiobook คลิกเลยค่ะ
19 พ.ค. 2566
26 เม.ย 2566
6 เม.ย 2566