Social Phobia... ลูกเราเป็นโรคกลัวสังคมหรือเปล่า ?

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 


โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก สังเกตได้จากท่าทางกังวล ใจสั่น มือสั่น มีอาการกระวนกระวายเมื่อต้องไปพบเจอคนแปลกหน้า หรือเมื่อต้องไปเรียนสถานที่ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไป


พฤติกรรมของเด็กที่เข้าข่ายเป็น Social Phobia โรคกลัวสังคม..

  ก้มหน้าก้มตา ไม่ค่อยสบตา ตัวสั่น เสียงสั่น มักพูดเสียงพึมพำเบาๆ บางคนอาจร้องไห้
  นั่งเงียบๆอยู่กับที่ ดูเหมือนรู้สึกไม่สบายใจ มีความวิตกกังวล ไม่ยอมคุยหรือลุกเดินไปเล่นกับใคร
  แยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน หลบเลี่ยงที่จะพูดคุยกับคนอื่น ไม่พูดคุยกับใครเลยนอกจากคนในครอบครัว
  ปฏิเสธการไปโรงเรียน
  ในกรณีที่ลูกเป็นโรคกลัวสังคมอย่างรุนแรง ลูกอาจจะมีอาการวิตกกังวลมากจนมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน




เมื่อพ่อแม่อย่างเรามองเห็นว่าลูกมีอาการเหล่านี้แล้ว สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้โดย


  อย่าประคบประหงมลูกมากเกินไป...

คุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงดูลูกแบบช่วยเหลือและทำให้ทุกอย่าง มีแนวโน้มที่ลูกจะเป็นโรคกลัวสังคม เพราะเมื่อเราทำอะไรให้เขาทุกอย่าง เขาจะไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขี้อาย ลังเล  ไม่กล้าตัดสินใจและไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับคนหรือสังคมใหม่ ๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องปล่อยให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองบ้างเพื่อเขาจะได้มีความมั่นใจในตัวเองและกล้าเผชิญกับสิ่งต่างๆ

  อย่าให้ลูกอยู่แต่ในบ้าน...

"ลูกกลัวสังคม เพราะไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้เข้าสังคมยังไงล่ะ" การที่คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกแบบไข่ในหินโดยให้อยู่ในพื้นที่จำกัดในสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ เพราะไม่ไว้ใจสังคม กลัวว่าเดี๋ยวถ้าปล่อยลูกออกไปจะทำให้ลูกเป็นอันตราย หรือกลัวมีใครจะมาทำร้าย ความวิตกกังวลของคุณพ่อคุณแม่นี้ก็จะส่งผลมาที่ลูกเพราะจะทำให้ลูกเป็นคนหวาดกลัว อึดอัด วิตกกังวลและกลัวสังคมเช่นเดียวกัน และเมื่อมีเหตุที่จำต้องออกไปอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกก็จะปรับตัวไม่ได้ ทำให้แปลกแยกกับผู้อื่น สังคมกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวของเขา


ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Social Phobia หรือโรคกลัวสังคมในเด็ก มีสาเหตุหลักๆ มาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่นี่แหละ เพราะแบบนั้นจึงอยากให้พ่อแม่บอกตัวเองเสมอๆ ว่า "เราไม่ได้อยู่ดูแลเขาไปจนจบชีวิตของเขา" การให้เขาได้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด เพราะว่าเขาต้องใช้ชีวิตต่อไปบนโลกใบนี้โดยลำพัง... 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้