Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
คนทั่วไปมักเข้าใจกันว่า คนท้องจะต้องกินเยอะๆ เพื่อลูกในท้องจะได้สมบูรณ์แข็งแรง แต่ความจริงแล้ว การรับประทานมากไป นอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อร่างกายแล้ว อาจยังนำคุณสู่ภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย ขณะเดียวกันการรับประทานอาหารน้อยเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีต่อเจ้าตัวเล็กในท้อง ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อต่อเนื่องถึงพัฒนาการเจริญเติบโตของเขาในอนาคต
ดังนั้น โภชนาการที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ จึงควรควบคุมการบริโภคให้อยู่ในเกณฑ์พอดี ซึ่งถ้าหากคุณมีน้ำหนักและส่วนสูงได้สัดส่วนกัน ก็ให้บริโภคอาหารในระดับปริมาณตามปกติที่เคยบริโภคก่อนตั้งครรภ์ แต่ถ้าคุณน้ำหนักอ้วน หรือผอมเกินไป ก็ต้องปรับเพิ่มลดปริมาณอาหารที่ต้องบริโภคให้เหมาะสม
หากอยากทราบว่า ปัจจุบันคุณมีน้ำหนักอ้วน หรือผอมเกินไป ให้คำนวณหาค่า BMI หรือ ดัชนีมวลรวมของร่างกาย โดยใช้สูตรคำนวณด้านล่างนี้
น้ำหนัก (กก. * 2.2) * 703
ส่วนสูง (เซนติเมตร * 0.39) * (เซนติเมตร * 0.39)
หากค่าบีเอ็มไอของคุณ...
ต่ำกว่า 18.5 คุณมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน ต้องปรับเพิ่มปริมาณการบริโภค
18.5 – 25 น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ คงปริมาณการบริโภคเดิม
มากกว่า 25 น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ปกติ ต้องลดปริมาณการบริโภค
ตัวอย่าง น้ำหนัก 40 กก. ส่วนสูง 154 ดัชนีมวลรวมร่างกาย หรือ BMI จะมีค่าเท่ากับ 17.15 ดังสูตรการคำนวณด้างล่าง
(40*2.2) * 703
(154*0.39) * (154*0.39)
ถ้าหากคุณไม่ถนัดคำนวณ ก็สามารถควบคุมปริมาณการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์ได้ง่ายๆ จากค่ามาตรฐานโดยการแนะนำของแพทย์ ซึ่งมีอัตราส่วนดังนี้
ไตรมาสที่ 1 : ควรเพิ่มขึ้น 0.3 – 0.5 กิโลกรัม ต่อเดือน โดยเฉลี่ยแล้วตลอด 3 เดือนแรกจะต้องมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นรวมแล้วไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม กินอาหารให้ได้พลังงานมากกว่า 200 แคลอรี่ต่อวัน
ไตรมาสที่ 2 : ควรเพิ่มขึ้น 0.4 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ เมื่อถึงปลายเดือนที่ 6 ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5-6 กิโลกรัม กินอาหารให้ได้พลังงานมากกว่า 300 แคลอรี่ต่อวัน
ไตรมาสที่ 3 : ควรเพิ่มขึ้น 0.3 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ รวมเบ็ดเสร็จแล้ว คุณควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นทั้งหมด 10 กิโลกรัม โดยเฉลี่ย
สิบกิโลกรัมยามตั้งครรภ์มาจากไหน ?
น้ำหนักกว่าสิบกิโลกรัมที่เพิ่มขึ้นมา และคุณแม่ต้องแบกรับร่วมเก้าเดือนนั้นกระจายไปอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้
น้ำหนักตัวลูกน้อย 3,000 กรัม
น้ำหนักรก 500-700 กรัม
น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม
กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม
เต้านม 300-500 กรัม
ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น 1,000 กรัม
ปริมาณน้ำในร่างกายคุณแม่ 1,500 กรัม
ไขมันที่สะสมในตัวคุณแม่ 3,000 กรัม
29 ก.ย. 2566
10 มิ.ย. 2562