Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
แม้คุณหมอสูติฯ ทั่วไป จะระบุตรงกันว่า การดื่มกาแฟในขณะตั้งครรภ์ ไม่ได้เป็นผลให้เกิดอันตรายกับลูกในท้องได้ แต่หลายท่านก็เน้นย้ำให้ควบคุมปริมาณการดื่มไม่ให้มากจนเกินไป ทั้งนี้ โดยความเป็นจริงแล้ว เคยมีผลศึกษาทางการแพทย์ระบุถึง เปอร์เซ็นต์คาบเกี่ยวระหว่างการรับเอาคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายขณะตั้งครรภ์ในระดับที่สูงเกิน กับโอกาสที่จะเกิดการแท้ง หรือการที่ทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติได้ ซึ่งทางองค์การอาหารและยา หรือ อย. ของสหรัฐอเมริกา ถึงกับกำหนดเอาไว้เลยว่า ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ไม่ควรได้รับคาเฟอีนอยู่ เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
ดูเหมือนว่า คุณแม่โดยส่วนใหญ่ ก็ตระหนักดีถึงผลเสียที่อาจเกิดกับลูกน้อยในครรภ์ แต่น่าเสียดายว่า ความใส่ใจนี้ เป็นการให้น้ำหนักกับคาเฟอีนที่ได้จากกาแฟเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ ความจริงแล้ว คาเฟอีนไม่ได้มีอยู่ในกาแฟ หรือชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอยู่ในอาหารอีกหลายประเภท เช่น ช็อกโกแลต น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ยาแก้ไข้ แก้หวัด หรือยาแก้ปวดหัว ดังนั้น ถึงคุณแม่ตั้งครรภ์จะควบคุมปริมาณการดื่มกาแฟไม่ให้เกิน 2 ถ้วยต่อวัน แต่ก็มีโอกาสได้รับคาเฟอีนจากที่อื่นเพิ่มได้อีก
ตารางแสดงสัดส่วนปริมาณคาเฟอีนที่มีอยู่ในเครื่องดื่มแต่ละประเภทด้านล่างนี้ จะช่วยให้คุณสามารถคำนวณปริมาณคาเฟอีนที่คุณรับเข้าไปในแต่ละวันได้
กาแฟสำเร็จรูปหนึ่งถ้วยมัก | 100 มล.ก. |
กาแฟต้มหนึ่งถ้วยกาแฟ | 100 มล.ก. |
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง | 80 มล.ก. |
กาแฟสำเร็จรูปหนึ่งถ้วยกาแฟ | 75 มล.ก. |
ชาหนึ่งถ้วยกาแฟ | 50 มล.ก. |
ช็อกโกแลต ขนาด 50 กรัม หนึ่งแท่ง | 50 มล.ก. |
โค้กหนึ่งกระป๋อง | 40 มล.ก. |
เครื่องดื่มช็อกโกแลตหนึ่งถ้วยกาแฟ | 8 มล.ก. |
กาแฟชนิดปราศจากคาเฟอีน | 4 มล.ก. |
ชาชนิดปราศจากคาเฟอีน | 4 มล.ก. |
29 ก.ย. 2566
9 ต.ค. 2567