การรับประทานยาขณะตั้งครรภ์

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

แม้รกจะทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียก่อนที่จะผ่านไปสู่ลูกน้อย แต่ยาบางชนิดอาจมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ เพราะในระยะนี้ ยา หรือสารบางชนิดอาจส่งผลต่อการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อน ทำให้อวัยวะต่างๆ เจริญผิดปกติ หรือหยุดเจริญเติบโตได้ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณยา หรือสารที่ได้รับเข้าไป

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หากมีปัญหาเจ็บป่วยขึ้น ถ้าอาการไม่หนักนัก ก็ให้รักษาด้วยวิธีธรรมชาติจะดีกว่า แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ ควรปฏิบัติดังนี้

-ปรึกษาสูติแพทย์ถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น

-บอกแพทย์ที่จ่ายยาให้ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่

-ใช้ยาให้น้อยที่สุด และได้ประโยชน์สูงสุด 

-ใช้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือฉลากยาที่แจ้งไว้ว่าจะใช้เวลาใด มากน้อยเท่าไร



ยาต้องห้าม!
-แอสไพริน  ถ้ากินในระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีเลือดออกง่าย

-ยาแก้อักเสบ (ที่ไม่ใช่สตอรอยด์)  ทำให้ทารกเลือดออกง่าย

-เตตราซัยคลิน  ถ้าใช้ในระยะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2-3 อาจทำให้ทารกฟันเหลือง ดำ กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ สมองผิดปกติ

-สเตรปโตมัยซิน คาน่ามัยซิน  ถ้าใช้นานๆ อาจทำให้ทารกหูพิการได้

นอกจากนี้แล้ว ยังมียาอีกหลายชนิดที่อาจมีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่ายาอะไร มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไรบ้าง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนที่คุณจะใช้ยา และใช้ยากรณีที่จำเป็นที่สุด

 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้