Colic ร้องไห้ 3 เดือน

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

เสียงร้องไห้ของทารกเป็นสิ่งที่ทำให้คุณแม่วิตกกังวล และเพิ่มความเครียดเป็นทวีคูณ ว่าจะมีสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นพยายามที่จะเข้ามาช่วยเด็ก ถ้าแก้ไขสาเหตุได้ ก็จะทำให้ทารกหยุดร้องได้ แต่ในกรณีที่ไม่รู้สาเหตุ และเด็กยังร้องอยู่ สุดท้ายจะยิ่งทำให้พ่อแม่มีความวิตกกังวลสูงขึ้น เพราะไม่รู้ว่าจะช่วยลูกอย่างไร

สาเหตุของการร้องไห้

- หิว

- เหนื่อย ,เพลีย ,อยากนอน

- จุก เนื่องจากกินนมเข้าไป และเรอออกไม่หมด

- รำคาญ เช่น ผ้าอ้อมเปียก ถุงมือรัดนิ้ว เป็นต้น

- เจ็บปวด เช่น ปวดหัว ปวดหูจากหูอักเสบ มดกัด

- อ้อน อยากให้แม่อุ้ม

- ไม่ได้ดังที่ต้องการ เนื่องจากพ่อแม่ไม่เข้าใจ

- ติดเป็นนิสัย มักจะร้องในช่วงเวลาที่คาดเดาได้

- ได้รับความวิตกกังวล ถ่ายทอดมาจากผู้เลี้ยงดู

จะดูแล ลูกวัยทารกอย่างไร
1. ให้คุณแม่ลองสังเกตพฤติกรรมและการตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของลูก โดยหาสาเหตุของการร้องไห้น่าจะเกิดจากอะไร เช่น ถ้าลูกจุกให้จับเรอเอาลมออกมา ถ้าผ้าอ้อมเปียกให้เปลี่ยนผ้าอ้อม ถ้าร้องเพราะอ้อนอยากให้อุ้มและเล่นด้วย ก็ทำในสิ่งที่ลูกต้องการ

การตอบสนองความต้องการของทารกในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทำทุกอย่างเท่าที่ทารกต้องการ จะเป็นการสร้างความรู้สึกผูกพันและสร้างให้ทารกเรียนรู้ที่จะไว้ใจแม่ เท่ากับบอกว่าแม่สามารถช่วยเหลือและช่วยแก้ไขในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าการอุ้มเด็กทารกบ่อยๆ จะทำให้ติดมือ ทารกติดกับการอุ้ม แต่ในความจริงเมื่อสภาพร่างกายที่พร้อมในการคืบ คลาน เมื่ออายุ 7-8 เดือน ทารกทุกคนอยากคลานออกไปห่างแม่ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม แม่เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาใกล้ๆ จนตกใจ หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไม่แน่ใจสถานการณ์รอบข้าง ทารกก็จะคลานกลับมาหาแม่ทันทีเช่นกัน เพียงแต่ขอให้คุณแม่อยู่ ณ จุดนั้นเสมอ แค่นี้คุณแม่ก็จะได้รับความเชื่อถือและวางใจจากลูก

2. พบกุมารแพทย์เพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติเช่น หูอักเสบ ไม่สบาย ฯลฯ

3. สร้างบรรยากาศสบายๆ และลดความวิตกกังวลในตัวของคุณแม่ผู้เลี้ยงดูลูกลงบ้าง การที่มีคนหลายคนมาช่วยแบ่งภาระของแม่ในการดูแลลูกวัยทารก รวมทั้งช่วยกันปลอบโยน โดยการเปลี่ยนมือเปิดเพลงเบาๆ หรือถ้าลูกร้องอยู่นานจนเหงื่อไหลไคลย้อยแล้วล่ะก็ ให้พาเช็ดตัวให้สดชื่น จะช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น คุณแม่ก็มีเวลาคลายเครียด ลดความกังวลลง

4. ทำใจไปกับเสียงร้องของลูก เมื่อตวจไม่พบความผิดปกติ ก็คงต้องว่า การร้องไห้ของลูกเท่ากับการออกกำลังกายบริหารปอด ถึงแม้ว่าจะร้องไห้อยู่ถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกตินะคะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้