นมแม่ เก็บให้ชัวร์ และดีแน่...เก็บอย่างไร

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

หลัง 3 เดือนผ่านไปตั้งแต่ทารกน้อยคลอดก็ ถึงเวลาที่คุณแม่มือใหม่หลายๆท่านต้องออกไปทำงานนอกบ้าน  ตามหลักการลาคลอดของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน  ดังนั้นเรื่องการเก็บรักษานมแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านควรรู้ไว้ค่ะ

อุปกรณ์ในการปั๊มนมแม่และเก็บน้ำนม
- เครื่องปั๊มนม ทั้งแบบไฟฟ้า แบบใช้แบตเตอร์รี่ หรือแบบปั๊มมือธรรมดา หรือมือของคุณแม่เอง
- ถุงเก็บน้ำนม หรือขวดเก็บน้ำนม
- กระติกน้ำแข็ง สำหรับในกรณีที่คุณแม่ต้องออกไปปั๊มนมนอกบ้าน  และตู้เย็นเก็บสต็อคน้ำนมในบ้าน

Must Know
- เก็บในภาชนะที่ปลอดภัย หรือจะเก็บในถุงเก็บน้ำนมก็ได้
- จดบันทึกวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ
- ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน
- เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้  ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน
- อย่าอุ่นนมแม่ด้วยน้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ใน นมแม่
- ไม่ปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น
- น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม.
- น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
- ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่
- ถ้าอยากทราบว่านมเสียหรือไม่ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ  ลองชิมค่ะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้