Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
ว่ากันว่าเสียงดนตรีมีศักยภาพในการเยียวยาจิตใจ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด แล้วสำหรับทารกในครรภ์ เสียงดนตรีมีประโยชน์อย่างที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ได้รับหรือเปล่า แม้จะมีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่พยายามค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างเสียงดนตรีที่มีต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่จะชี้ชัดฟันธงลงไปได้ร้อยเปอร์เซ็นว่าจริงๆ แล้วเสียงดนตรีส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่เรารู้แน่ชัดก็คือ เมื่อว่าที่คุณแม่ได้ฟังเพลงที่ชื่นชอบ ย่อมรู้สึกผ่อนคลาย และอารมณ์ที่ดีนี้เองที่น่าจะส่งผลดีต่อทารกไม่มากก็น้อย
เสียงเพลงกับการตั้งครรภ์
ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมายที่กระตุ้นและส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ประสบการณ์ต่างๆ ที่ลูกรับรู้ได้ระหว่างอยู่ในครรภ์มารดานั้น จะเป็นพื้นฐานการรับรู้ถึงโลกภายนอกของเจ้าตัวน้อยในอนาคต
งานวิจัยจาก Alvas Ayurveda Medical College ในประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาโดยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ฟังเพลงคลาสสิคของอินเดียที่เรียกว่า Kalyani ragaวันละอย่างน้อย 20 นาที เป็นเวลา 20 วันติดต่อกัน เมื่อครบ 20 วัน นักวิจัยได้ทำการทดสอบทารกในครรภ์ว่ามีการตอบสนองและพัฒนาการแตกต่างไปอย่างไรบ้าง ซึ่งนักวิจัยระบุว่าเสียงดนตรีส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อทั้งว่าที่คุณแม่และทารกในครรภ์ กล่าวคือในทารกพบว่า เสียงดนตรีช่วยพัฒนาปฏิกริยาสะท้อนกลับ(Reflexs) ไปจนถึงกระตุ้นการตอบสนองและการเคลื่อนไหว สำหรับว่าที่คุณแม่เสียงดนตรีช่วยทำให้รู้สึกสงบ ซึ่งถือเป็นผลดีต่อแม่ตั้งครรภ์
เสียงเพลงกระตุ้นการเรียนรู้ของลูกอย่างไร
พัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ หรือ Reflexsของทารกในครรภ์ เพราะเมื่อว่าที่คุณแม่ฟังเพลง ทารกจะรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนและเริ่มที่จะตอบสนองต่อแรงสั่นนั้น ทารกในครรภ์ยังอาจจะเคลื่อนไหวเพื่อให้เข้ากับจังหวะของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งไม่เพียงช่วยพัฒนาปฏิกิริยาสะท้อนกลับแต่ยังกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เสียงเพลงกับความฉลาดของลูกในครรภ์
ประเด็นเรื่องเสียงเพลงและความฉลาดของลูกในครรภ์นั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและหาข้อสรุปทางวิชาการไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มีนักวิจัยบางกลุ่มที่เชื่อว่าการให้ลูกฟังเพลงตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะช่วยทำให้ลูกมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ที่ดี แต่ทั้งนี้ผลการวิจัยเป็นการทำการศึกษาในเด็กโต ไม่ใช่ทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการวิจัย ที่ทำการศึกษาเด็กวัย 3-4 ปี พบว่าเด็กเล็กที่เรียนเปียโน มีทักษะด้านเหตุผลเชิงมิติสัมพันธ์ (Spatial-reasoning)
9 ต.ค. 2567
29 ก.ย. 2566