ปฐมพยาบาลเบื้องต้น เรื่องที่ 'พ่อแม่ต้องรู้'

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

วัยขวบปีแรกนั้น เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ จากหนูน้อยแบเบาะที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ภายในหนึ่งปีลูกจะเริ่มคลาน ลุกขึ้นนั่งเองได้ เกาะยืน และเดินได้ในที่สุด อีกทั้งการเรียนรู้ของลูกน้อยวัยขวบปีแรก จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส โดยเฉพาะการลิ้มรส จะสังเกตได้ว่าหนูน้อยวัยนี้มักนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก นั่นเป็นเพราะลูกกำลังทำความรู้จักโลกใบนี้ผ่านประสาทสัมผัสด้านนี้นั่นเอง ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะเอื้อให้เจ้าตัวน้อยมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่อย่างเหมาะสมตามวัย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะจัดสรรสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยแล้ว แต่อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้เสมอ นอกจากการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของลูก พ่อแม่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นด้วย

CPR เรื่องที่พ่อแม่รู้จัก แต่ไม่รู้จริง
         
CPR (Cardiopulmonary resuscitation)หรือปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ คือการช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก

ซึ่งสำหรับหนูน้อยขวบปีแรก สาเหตุของการหยุดหายใจส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ หรือเศษอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้การจมน้ำก็อาจเป็นสาเหตุของการหยุดหายใจได้เช่นกัน ทั้งนี้การรู้วิธีทำ CPR อย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ได้

อย่างไรก็ตาม การศึกษาจากกลุ่มอาสาสมัคร ST JOHN'S AMBULANCEประเทศแคนนาดา ได้ทำการสอบถามพ่อแม่ผู้ปกครองพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่รู้และเข้าใจวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้อง กรณีที่ลูกหยุดหายใจ ทั้งนี้จากการศึกษา มีพ่อแม่จำนวน 2 ใน 3 ที่รู้วิธีการทำ CPR ในผู้ใหญ่ แต่ไม่รู้ว่าการทำ CPR ในเด็กนั้นแตกต่างกัน เพราะการทำ CPR ในเด็กจะใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วกดไปที่กลางอก ไม่ได้ใช้ทั้งฝ่ามือเหมือนการช่วยชีวิตผู้ใหญ่

พ่อแม่ผู้ปกครองพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่รู้และเข้าใจวิธีการทำ CPR ที่ถูกต้อง

 

การทำ CPR หนูน้อยขวบปีแรก
1. เขย่าเรียกชื่อเด็กเบาๆ แล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือ เคลื่อนไหวหรือไม่

2. ถ้าไม่ตอบสนองให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ หรือโทรเรียกรถพยาบาล สายด่วน 1669 ขณะที่มีคนใดคนหนึ่งอยู่ทำ CPR จนครบ 2 นาที

3. ยกคางของเด็กขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ขณะใช้มืออีกข้างผลักศีรษะไปด้านหลัง

4. วางหูใกล้กับปากและจมูกของเด็ก สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก สังเกตว่าลมหายใจของเด็กสัมผัสที่แก้มของเราหรือไม่

5. ถ้าเด็กยังไม่หายใจใช้ปากประกบกับปากของเด็ก หรือปากประกบกับจมูกแต่ต้องให้ปากของเด็กปิดสนิทพยายามยกคางแหงนหน้าขึ้นเป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย

6. กดหน้าอกวางนิ้ว 2 นิ้วบนหน้าอก ระดับใต้ราวนมให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากของเด็ก พยายามให้เด็กหงายหน้าขึ้นกดหน้าอกให้กดลงไประหว่าง 1/3-1/2 ของความลึกของหน้าอกกดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุดนับจนกว่าจะถึง 30

7. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

8. ทำซ้ำข้อ 6 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 นาทีหลัง 2 นาที หากเด็กยังไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรเรียกรถพยาบาลทันที

9. ทำซ้ำข้อ 8 จนกว่าเด็กจะฟื้นหรือรถพยาบาลมา

1’s aid for Babies
รู้หรือไม่ค่ะว่ามีหลายสถานการณ์ที่เด็กๆ อาจทำให้ตัวเองได้รับอันตราย ในฐานะที่เป็นพ่อแม่ คุณมั่นใจแค่ไหนว่าจะช่วยลูกเบื้องต้นได้หากเหตุการณ์ไม่คาดฝันเหล่านั้นเกิดขึ้น?

500,000    คือจำนวนของเด็กๆ ที่ได้รับอุบัติเหตุภายในบ้าน
125,000    คือจำนวนของเด็กๆ ทีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการเล่นภายในสวนหรือสนามหน้าบ้าน
20,000    บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ภายในบ้าน
เพียง 1 ใน 10 คือพ่อแม่ที่มีความมั่นใจมากพอว่าช่วยเหลือลูกได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

เรื่องฉุกเฉินที่พบบ่อยในทารก
หมดสติ หยุดหายใจ
สำลัก
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
บาดแผลเปิด ถลอก ฟกช้ำ

CPR ในเด็กนั้นแตกต่างกัน เพราะการทำ CPR ในเด็ก จะใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วกดไปที่กลางอก ไม่ได้ใช้ทั้งฝ่ามือเหมือนการช่วยชีวิตผู้ใหญ่

เคล็ดไม่ลับการปฐมพยาบาล
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยทำให้คุณเข้าใจเรื่องการปฐมพยาบาลเจ้าตัวน้อยมากขึ้น แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม และเข้ารับการอบรบเรื่องการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องครบถ้วนด้วย

รู้ได้อย่างไรว่าลูกหมดสติ
- แตะหรือสะกิดบริเวณฝ่าเท้า
- เรียกชื่อแล้วดูว่าลูกตอบสนองหรือไม่
- เปิดทางเดินหายใจของลูก ด้วยการวางมือข้างหนึ่งบนหน้าผากลูก แล้วผลักศรีษะลูกไปด้านหลัง
- ใช้มืออีกข้างเชยคางของลูกขึ้น

ถามตัวเองว่า
- หน้าอกของลูกขยับหรือเปล่า
- ได้ยินเสียงลมหายใจ หรือลมหายใจของลูกสัมผัสที่แก้มของเราหรือไม่

ทำอย่างไรเมื่อลูกหมดสติ แต่ยังหายใจ
- อุ้มลูกขึ้นมาโดยให้ศรีษะของลูกอยู่ต่ำกว่าลำตัว (ตามภาพ)
- เรียกรถพยาบาล หรือโทรสายด่วน 1669
- ดูว่าลูกยังหายใจหรือไม่
- เตรียมทำ CPR

ช่วยเหลือเมื่อลูกสำลัก
Slab
- อุ้มลูกคว่ำหน้าบนหน้าขาของคุณ ใช้มือประคองศรีษะลูกไว้
- ใช้สันมือตบลงไปกลางสะบัก ประมาณ 5 ครั้ง
Check
ตรวจสอบว่าสิ่งที่ติดของลูกออกมาหรือยัง ค่อยๆ หยิบออกมา
Queeze
- หากการตบสะบัก ไม่ช่วยให้สิ่งที่ติดค้างหลุดออกมา ควรเตรียมกดบริเวณหน้าอกลูกเป็นจังหวะ
- อุ้มลูกวางบนหน้าขา โดยครั้งนี้จับลูกหันหน้าขึ้นเข้าหาคุณ
- ใช้สองนิ้ววางระดับใต้หัวนมของลูก กดนิ้วลงไปแล้วดันขึ้นไปทางศรีษะของลูก ทำซ้ำ 5 ครั้ง แล้วหยิบสิ่งที่ติดคอออกมา
- หากสิ่งที่ติดคอลูกยังไม่หลุด ให้กลับไปทำการตบสะบัก สลับกับการบีบหน้าอก อย่างละ 3 ครั้ง


Call
- ตะโกนตามใครสักคนให้โทรเรียกรถพยาบาล
- ทำการปฐมพยาบาลด้วยการตบหลัง และกดหน้าอกซ้ำจนกว่าของที่ติดจะหลุดออก หรือจนกว่ารถพยาบาลจะมา
- หากลูกหมดสติไปขณะใดก็ตาม ให้เปิดทางเดินหายใจแล้วสังเกตดูว่าลูกยังหายใจหรือไม่

ช่วยเหลือเมื่อถูกของร้อน
- เปิดน้ำเย็นให้ไหลผ่านบริเวณบาดแผลที่ถูกของร้อน ประมาณ 10 นาที
- เมื่อแผลเริ่มเย็นลง ให้ใช้ฟิล์มปิดแผลสำหรับแผลที่ถูกของร้อนปิด โดยเฉพาะ
- พาลูกไปพบแพทย์ หรือโทรเรียกรถพยาบาลหากคิดว่าจำเป็น

ช่วยเหลือเมื่อมีแผลเปิด ถลอก
- ใช้กระดาษเปียก หรือน้ำเย็นล้าทำความสะอาดแผล
- ซับแผลให้แห้งแล้วปิดด้วยผ้าก๊อซ
- หากคิดว่าบาดแผลสกปรก ติดเชื้อ หรือเป็นบาดแผลลึก ควรพาลูกไปพบแพทย์

ช่วยเหลือเมื่อลูกเลือดออกมาก
- ถอดเสื้อผ้า อย่าให้ปกปิดแผล
- กดบริเวณแผล ในกรณีที่มีอะไรปักอยู่ให้กดรอบแผล ด้วยผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาด
- กดห้ามเลือดและพยายามให้บริเวณบาดแผลอยู่สูงกว่าหัวใจของลูก
- ติดพาสเตอร์ทับผ้าก๊อซให้แน่น แต่ต้องไม่แน่นจนทำให้เลือดไม่ไหลเวียน
- หากว่าเลือดไหลจนชุ่มผ้าก๊อซผืนแรก ให้วางผืนใหม่ทับด้านบนได้เลย
- หมั่นตรวจสอบลมหายใจ ชีพจร และการตอบสนองของลูก จนกว่าจะถึงมือหมอ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้