ฮอร์โมน.. วัตถุสร้างเกาะป้องกันตัวของทารก

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

ขณะกำลังตั้งครรภ์ คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าฮอร์โมนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของคุณมีความสำคัญอย่างไรบ้าง ฮอร์โมนไม่เพียงเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตตามลำดับ และพัฒนาการก่อนคลอดเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในขณะคลอด โดยการปรับสภาวะแวดล้อมจากภายในมดลูก จนถึงการมีชีวิตรอดของทารกน้อยลืมตาออกมาดูโลก

บทบาทแรกเริ่ม

ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายของแม่ ทารกในครรภ์ และรก นั้นมีความซับซ้อนมาก คนโดยทั่วไปจะรู้จักแต่การสังเคราะห์โปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนสเตียรอยด์  คือเอสทรีออล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบได้ในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ ในความเป็นจริง 90 เปอร์เซ็นต์ของเอสทรีออลที่พบภายในรกเด็ก จะมาจากสารนำในกลุ่มสเตียรอยด์ที่ผลิตได้ภายในตับของทารกนั้นเอง พัฒนาการขั้นต้นของทารกจะมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ได้มาจากอวัยวะไร้ท่อของแม่ และภายในครรภ์ และ “ภายในรก”  (เช่น กรดไขมัน คอเลสเตอรอล กรดอมิโน และวิตามิน) โดยผ่านเส้นเลือดภายในร่างกายของแม่ ระหว่างที่ระบบต่อมไร้ท่อของเด็กขยาย และเติบโตอย่างเต็มที่ จนสามารถผลิตฮอร์โมนของตัวเองขึ้นมาได้เอง ทั้งแม่ และเด็กจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของอวัยวะสัมผัส และเนื้อเยื่อของเด็กทารก

มันช่างเป็นเรื่องมหัศจรรย์จริงๆ ที่เด็กทารกเริ่มผลิตฮอร์โมนตั้งแต่ที่เขายังเป็นทารกอยู่ในท้องแม่ของเขา ซึ่งฮอร์โมนนี้มีความจำเป็นต่อร่างกายของเขานับตั้งแต่ที่มีชีวิตอยู่ในท้อง จนคลอดออกมามีชีวิตอยู่บนโลก กระบวนการผลิตฮอร์โมนจะเริ่มขึ้นนับตั้งแต่ 7 สัปดาห์แรกหลังการปฏิสนธิ แต่ฮอร์โมนบางชนิด ยังไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้จนกว่าอวัยวะสัมผัสถูกพัฒนาตามขึ้นมา ฮอร์โมนเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ที่จำเป็นในแต่ละขั้นของการพัฒนาเท่านั้น ดังนั้น ระบบฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นมานี้เป็นเพียงแค่ “การเตรียมความพร้อม” เท่านั้น

เพียง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ต่อมผลิตฮอร์โมนต่างๆ จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ตับอ่อนขนาดเล็กเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 7 ต่อมไทรอยด์ ในสัปดาห์ที่ 8 ต่อมหมวกไต ประมาณสัปดาห์ที่ 9 และต่อมใต้สมอง ในสัปดาห์ที่ 12

อัตราการเติบโตของเด็กทารก

ฮอร์โมนไทรอยด์ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ เนื่องจากมันจะไปกระตุ้นให้อัตราการเผาพลาญอาหารภายในร่างกายของคุณมีอัตราที่รวดเร็วขึ้น หรือช้าลง ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังการนำเอาออกซิเจนมาใช้ และการสร้างความร้อนภายในร่างกายของคุณ เป็นกลไกง่ายๆ คือ ถ้าต่อมไทรอยด์ของคุณมีการทำงานมาก จะทำให้คุณใช้พลังงานมาก และคุณก็อาจจะมีร่างกายที่ผอมบาง ขณะเดียวกัน ถ้าต่อมไทรอยด์ของคุณไม่ค่อยขยันทำงานเสียเท่าไร คุณก็จะใช้พลังงานไปไม่เท่าไรเช่นกัน ซึ่งก็จะทำให้คุณมีร่างกายที่อ้วนท้วน

ต่อมไทรอยด์ เปรียบได้กับโรงงานผลิตพลังงานภายในร่างกายของเรา ช่วยในการบ่มเพาะกระบวนการเผาพลาญอาหารของทารก ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของปอดในทารก และช่วยให้เด็กทารกสามารถรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายของตัวเองให้ยังคงอบอุ่นอยู่ได้ภายหลังคลอดออกมา เด็กเกิดใหม่ จะใช้รูปแบบเฉพาะของไขมันสะสมในการรักษาความอบอุ่นภายในร่างกายของเขา และจากนั้นต่อมไทรอยด์จะเป็นตัวทำหน้าที่นี้แทน

พื้นที่ส่วนใหญ่บนผิวของเด็กเกิดใหม่จะมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัว พวกเขาจึงยังไม่สามารถแสดงอาการหนาวสั่นได้ ดังนั้นพวกเขาอาจสูญเสียความร้อนภายในร่างกายไป ความหนาวเย็นทำให้ร่างกายของเด็กทารกแสดงปฏิกิริยาตอบรับด้วยการดึงนำเอาไขมันสะสมรอบบริเวณลำคอ และไตทั้งสองข้างมาใช้ ต่อเมื่อเด็กมีพัฒนาการในการควบคุมกล้ามเนื้อได้เอง ผิวหนังของเขาจะแสดงปฏิกิริยาด้วยอาการสั่นยามเมื่อสัมผัสกับความหนาว และกล้ามเนื้อจะสร้างอุณหภูมิความร้อนขึ้น เมื่อนั้นไขมันสะสมก็จะปราศจากความสำคัญไป

การทำงานของอินซูลิน และฮอร์โมนอื่นๆ ภายในร่างกายของเด็กทารกนั้นจะมีความสมดุลกัน ทารกจะเริ่มมีตับอ่อนเมื่อช่วงอายุครรภ์ได้ 7 หรือ 8 สัปดาห์ ทั้งอินซูลิน และกลูโคส จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กตราบที่ระดับน้ำตาลในเลือดไม่มีความสมดุล โดยที่หากเด็กได้รับกลูโคสมากเกินไป จะทำให้ตัวเขาบวมขึ้น และถ้าการควบคุมปริมาณอินซูลินภายในร่างกายของแม่ไม่ดีนัก คือมีปริมาณกลูโคสมากเกิน ก็จะส่งผลไปยังระบบภายในร่างกายของทารก ซึ่งจะส่งผลให้เขาเกิดอาการตัวบวมขึ้นมาได้เช่นกัน ซึ่งเราจะเรียกอาการนี้ว่า แมคโครโซเมีย อาการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างคลอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับการที่ไหล่ของเด็กติดภายหลังจากที่หัวเด็กคลอดออกมาแล้ว

โซมาโททรอฟิน คือ ฮอร์โมนที่รู้จักกันดีว่าช่วยในการเจริญเติบโตของมนุษย์ ถูกปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมอง และมีผลต่อเซลล์จำนวนมากในร่างกายของมนุษย์ โดยจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตของกระดูก และกระดูกอ่อน ระบบการเผาพลาญโปรตีน ไขมัน และกลูโคส และความสมดุลในการแยกสารต่างๆ ภายในร่างกาย  คล้ายกับโครงสร้างการผลิตโปรแลคติน และแลคโตเย่นในช่วงการตั้งครรภ์ของมนุษย์ ซึ่งจะถูกผลิตขึ้นระหว่างที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์และกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก


ระบบการหมุนเวียนโลหิต

ฮอร์โมนอีไรโธรโปรตีน (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า EPO) จะสร้างเซลเม็ดเลือดแดงที่มีอายุโตเต็มที่ของทารกเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นเม็ดสีแดงในเซลเม็ดเลือด แม้โดยปกติจะเป็นหน้าที่ของไตทั้งสองข้างในการผลิตเซลเม็ดเลือดแดง แต่ในเด็กทารก ตับจะเป็นตัวทำหน้าที่นี้แทน ดังนั้นหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมน EPO จะถูกโอนไปให้ตับทำหน้าที่ในช่วงขณะที่เด็กคลอด เด็กที่เกิดใหม่จะมีเซลเม็ดเลือดแดงที่ยังมีอายุอ่อนจำนวนมากในระบบการหมุนเวียนโลหิต ซึ่งมากกว่าในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีถึง 3 เท่าตัว และเนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในมดลูกค่อนข้างมีระดับความดันของออกซิเจนต่ำจึงทำให้เด็กทารกมีระดับฮอร์โมนอีไรโธรโปรตีนสูงกว่าในคนที่มีระดับความดันโลหิตสูง


ฮอร์โมนสเตียรอยด์

ภายในรก คือ โรงงานผลิตสเตียรอยด์ ซึ่งมีบทบาทที่หลากหลายในพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งเด็กและแม่จะร่วมกันผลิต DHEAS (dehydroepiandrosterone sulphate – เกลือซัลเฟตที่ปราศจากน้ำเป็นส่วนประกอบ พบได้บริเวณฮอร์โมนแอนโดรสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่พบได้ในปัสสาวะชาย) รกจะเปลี่ยน DHEAS เป็นเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับที่สูงอาจช่วยให้การเบ่งท้องคลอดเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

ภายในร่างกายของเด็กทารกยังผลิตกลูโคคอรทิคอดส์ (เช่น คอร์ทิซอร์) และไมน์ราโลคอร์ทิคอดส์ (เช่น แอลโดสทิโรน) จากส่วนนอกสุดของฮอร์โมนที่ได้จากต่อมหมวกไต และฮอร์โมนเพศ (หรือที่รู้จักกันว่า แอนโดรเจน) จากฮอร์โมนอดรีนาพิเศษ “บริเวณที่อยู่ของทารก” เป็นที่เข้าใจกันว่า ช่วงสุดท้ายของการตั้งท้องในสัตว์ทุกชนิด แอนโดรเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นเอสโตรเจน และทำให้กระบวนการผลิตโปรเจนเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้มดลูกมีการผ่อนคลายมีปริมาณลดลง ขณะเดียวกันพรอสเตแกลนดินส์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นมดลูก ถูกผลิตออกมามากขึ้น ทำให้มดลูกมีการบีบตัวเพื่อเตรียมการคลอด

แอลโดสทิโรน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากเปลือกของต่อมหมวกไต ช่วยให้ไตมีการเก็บรักษาโซเดียมไว้ และช่วยให้อวัยวะสัมผัสยังไม่มีการเจริญเติบโตเต็มที่จนกว่าทารกจะผ่านพ้นช่วงคลอดออกมา นี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมไตของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจึงขาดเกลือและในบางครั้งหมอต้องสั่งให้ให้นมที่มีรสเค็มกว่าปกติแก่เด็กเหล่านี้

ทารกจะผลิตฮอร์โมนคอรทิซอล (ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ได้จากเปลือกต่อมหมวกไต) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงของการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 32 สัปดาห์ ฮอร์โมนคอรทิซอลจะช่วยให้ปอดของทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ด้วยเหตุนี้เอง คุณหมอจึงจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีโอกาสในการคลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อช่วยให้ปอดทั้งสองข้างของเด็กมีการเจริญเติบโต 

ถ้าคุณต้องไปโรงพยาบาลด้วยสาเหตุคลอดก่อนกำหนด หมอจะพยายามหยุดอาการนั้นให้ แต่ถ้าหมอไม่สามารถยืดเวลาการตั้งครรภ์ของคุณได้ เขาก็จะให้สเตียรอยด์แก่คุณแทน ถ้าช่องคลอดของคุณเปิดก่อนเวลา หรือคุณท้องแฝดสาม คุณก็อาจจะต้องคลอดก่อนกำหนด และคุณอาจต้องได้รับสเตียรอยด์ด้วยเช่นกัน เด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่ มีแนวโน้มที่จะมีการเจริญเติบโตของปอดช้า ดังนั้นแม่ที่เป็นโรคเบาหวานก็อาจจะต้องได้รับการฉีดสเตียรอยด์ด้วยเช่นกัน


เตรียมตัวก่อนคลอด

คอร์ทิซอล บางครั้ง ถูกเรียกว่าเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมตัวคลอด มันคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งในกลุ่มสเตียรอย์ที่ผลิตได้ในต่อมหมวกไต และมีหน้าที่ในการควบคุมแรงดันโลหิตในหัวใจและเส้นเลือด และช่วยให้ร่างกายดูดซึมโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตมาใช้

เมื่อตกอยู่ภายใต้สภาวะที่กดดัน คอร์ทิซอลจำนวนมากจะถูกหลั่งออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้โปรตีนในกล้ามเนื้อถูกทำลายด้วยกรดอมิโนที่ถูกปล่อยออกมา และตับนำไปใช้ในการผลิตน้ำตาลกลูโคส ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ทำให้สมองมีระดับกลูโคสมากพอสำหรับการสร้างพลังงาน

ทั้งแม่และเด็ก จะผลิต CRH (corticotropin-releasing hormone – ฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อการบำรุงภายนอก) และ DHEAS ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายของทารกผลิตคอร์ทิซอลขึ้น คอร์ทิซอลจะช่วยในการเจริญเติบโตของปอด ตับ และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของทารก และยังเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจของแม่ที่ตั้งครรภ์อีกด้วย นอกจากนี้ คอร์ทิซอลยังกระตุ้นการสังเคราะห์แคทเทโคลาไมน์ และกระตุ้นการผลิตไกโคเจน ซึ่งจะช่วยให้ทารกมีพลังงานในระหว่างคลอด


เรื่องราวที่เกี่ยวกับหัวใจ

แคทเทโคลาไมน์ ยังเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ฮอร์โมนสร้างภาวะกดดัน หนึ่งในจำนวนที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ โดพาไมน์ นอร์แอดรีนาลีน (หรือเรียกว่า นอร์อีพิเนพฟริน) และแอดรีนาลีน (หรือเรียกว่า อีพิเนพฟริน) ทั้งหมดจะถูกสังเคราะห์ขึ้นในต่อมหมวกไตส่วนกลาง โดพาไมน์ คือตัวส่งผ่านความรู้สึกในระบบประสาท นั่นคือ มันจะส่งทอดข้อความระหว่างเซลล์ต่างๆ ภายในสมอง

นอร์แอดรีนาลีน คือตัวส่งผ่านความรู้สึกที่มีความสำคัญที่สุดในระบบประสาทที่บังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายนอกอำนาจจิตใจ แอดรีนาลีน คือ ตัวส่งผ่านความรู้สึกในสมอง ซึ่งยังมีหน้าที่ในการเปลี่ยนไกโคเจนเป็นกลูโคสในตับอีกด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กพองตัว และเพิ่มอัตราการเต้น และระดับความถี่ในการเต้นของหัวใจในทารก และรวมถึงการเพิ่มแรงดันโลหิตในทารกอีกด้วย

ทั้งนอร์แอดรีนาลีน และแอดรีนาลีน จะปรากฏว่ามีปริมาณความเข้มข้นสูงในกระแสโลหิตของทารกหลังคลอดทางช่องคลอด ฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้จะช่วยในการดูแลรักษาระบบไหลเวียนโลหิตของทารก และช่วยปรับระบบเผาพลาญอาหารภายในร่างกายของทารกหลังจากคลอดออกมามีชีวิตอยู่นอกมดลูก และยังช่วงเร่งการดูดซับของเหลวที่เต็มอยู่ภายในปอดของทารกก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา ช่วยให้ทารกสามารถรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ในกระบวนการนี้แคทเทโคลาไมน์จะเป็นตัวช่วยให้ร่างกายของเด็กดึงเอาไขมันสะสม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ห่อหุ้มตัวเด็กไว้ นำมาใช้ในการทำให้ร่างกายอบอุ่น เด็กจำเป็นต้องใช้ไขมันสะสม เนื่องจากสภาพแวดล้อมเดิมที่เขาอยู่มีอุณหภูมิคงที่ คือภายในมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วงแคบๆ แต่เขาจะต้องออกมาอยู่ในโลกที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำกว่าอุณหภูมิภายในมดลูก อีกทั้งยังมีระดับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรงกว่าด้วย

ในการผ่าตัดทำคลอด จะไม่ปรากฏการขึ้นลงของฮอร์โมนสร้างภาวะกดดัน ดังนั้น เด็กที่คลอดโดยการผ่าตัดใช้เวลาเพียงนิดเดียวในการเริ่มต้นหายใจ นี่จะเป็นสาเหตุให้พวกเราถูกกำหนดให้มีภาวะกดดัน!


ในห้วงเวลาฉุกเฉิน

แคทเทโคลาไมน์, แอนจิโอเทนซิน และกลูคากอน คือ ฮอร์โมน “ฉุกเฉิน” ที่จะถูกผลิตขึ้นในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์เจ็บท้องคลอด และช่วงระหว่างคลอด กลูคากอน ถูกผลิตขึ้นมาจากตับอ่อน และมีหน้าที่ในการย่อยคาร์โบไฮเดรต แอนจิโอเทนซิน จะเพิ่มระดับความถี่ที่มั่นคงของลมหายใจ และยังเพิ่มแรงดันโลหิตอีกด้วย

ขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์กำลังเจ็บท้องคลอดอยู่นั้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นต่อมหมวกไตของเด็ก และเด็กจะเริ่มผลิตแคทเทโคลาไมน์ หรือฮอร์โมนสร้างภาวะกดดันในระดับที่สูงขึ้น กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เด็กสามารถมีชีวิตอยู่รอดภายนอกมดลูก

ลำดับแรกสุด กระบวนการดังกล่าวช่วยในการหายใจของเด็ก ฮอร์โมนสร้างภาวะกดดัน จะเพิ่มระดับของสารเซอแฟคแทนท์ที่หลั่งออกมาจากปอด ซึ่งสารดังกล่าวจะช่วยในการขยายปอดของเด็กหลังคลอด และเมื่อปอดของเด็กถูกเปิดออก จึงทำให้ของเหลวจากถุงน้ำคร่ำถูกขจัดออกจากปอด และช่วยทำให้กิ่งก้านของหลอดลมใหญ่ขยายออกด้วย

ลำดับที่สอง ฮอร์โมนเหล่านี้ จะเพิ่มกระแสโลหิตของทารก  ทำให้มีการส่งเลือดไปยังอวัยวะที่สำคัญๆ ต่างๆ ภายในร่างกายของเด็ก เช่น สมอง หัวใจ ปอด และไต ได้อย่างทั่วถึง 

ลำดับที่สาม ฮอร์โมนเหล่านี้ยังช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเด็กอีกด้วย โดยการเปลี่ยนไขมันปกติ ให้เป็นกรดไขมัน เปลี่ยนไกโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส และกระตุ้นตับให้ผลิตกลูโคสเพื่อให้เด็กได้รับกลูโคสที่พอเพียงจนกว่าจะได้รับกลูโคสจากน้ำนมแม่

ลำดับที่สี่ ฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้เด็กมีการตื่นตัว และมีการขยายรูม่านตา ยิ่งเด็กมีการตื่นตัวมากเท่าไร ก็จะทำให้เขายิ่งมีปฏิกิริยาตอบรับคนที่เป็นพ่อแม่เขาได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ทางสายเลือดขึ้น 

ลำดับสุดท้าย ฮอร์โมนเหล่านี้จะเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ภายในร่างกายของเด็ก ต่อมหมวกไต เป็นตัวที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคในเด็กมีเพิ่มมากขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้