น้ำหนักแรกคลอดต่ำแล้วจะเป็นไฮเปอร์แอคทีฟ

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

วารสารกุมารแพทย์ รายงานผลการวิจัยเปรียบเทียบของชาวแคนาเดียน พบว่าพ่อแม่ของเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่ามาตรฐานมาก คือน้อยกว่า 2.2 ปอนด์ จะประสบปัญหาเด็กที่เกิดมามีอาการไฮเปอร์ เก็บกด หรือปัญหาทางจิตอื่นๆ สูงกว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดปกติ ถึงกระนั้น บรรดาเด็กวัยรุ่นที่พ่อแม่ของพวกเขาระบุถึงปัญหาของอาการไฮเปอร์ เก็บกด ต่างๆ นั้น กลับบอกว่า พวกเขาปกติดี พวกเขาไม่คิดว่า การที่พวกเขาเกิดมาพร้อมกับมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติ จะเป็นเหตุให้พวกเขามีอาการไฮเปอร์ มากกว่าเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักแรกคลอดปกติ 

ดร.สาโรจ ไซกัล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชากุมารแพทย์ แห่งมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ในแฮมมิลตัน ออนตาริโอ กล่าวว่า ผลการศึกษาเสริมข้อเท็จจริงที่ว่า เด็กเหล่านี้มักมองภาพตัวเองไปในทางบวก “พ่อแม่จะเข้าใจว่า เด็กที่คลอดก่อนกำหนดเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่คลอดตามปกติแล้ว จะมีปัญหาที่ต้องการการเอาใจใส่ หรือปัญหาทางพฤติกรรมมากกว่าเด็กปกติ ขณะที่ตัวเด็กเองจะไม่สามารถสัมผัสได้ถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังสนใจศึกษาอยู่ในตอนนี้” 

ทีมงานของไซกัล ได้ติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติในช่วงปี 1977-1982 จำนวน 400 คน พบว่าพวกเขาจะมีปัญหาในโรงเรียน และมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะทางด้านสังคม นอกจากนี้นักวิจัยยังได้คัดเลือกเด็กที่เกิดมาโดยมีน้ำหนักแรกคลอดปกติอีกจำนวนหนึ่งมาศึกษาเปรียบเทียบ ไซกัล และเพื่อนนักวิจัยของเขาพบว่า เด็กที่เกิดมาด้วยน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติจะค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องการแสดงความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และมีอาการไฮเปอร์ร่วมด้วย ในช่วงวัยอนุบาล มีความกังวล เก็บกด และไม่สามารถเข้าเรียนร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ แต่น้อยคนนักที่จะรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้นสู่ในวัยหนุ่มสาว 

เพื่อศึกษาดูว่าอาการที่เป็นปัญหาดังกล่าวจะยังคงอยู่ หรือลดลง ไซกัล และทีมงานของเธอได้คัดเลือกตัวอย่างจากเด็กที่เธอกำลังติดตามศึกษาอยู่ทั้งหมด โดยเลือกเด็กวัยรุ่นที่ตอนเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติจำนวน 141 คน และพ่อแม่ของพวกเขา 143 คน ตามด้วยเด็กวัยรุ่นที่ตอนเกิดมีน้ำหนักแรกคลอดปกติจำนวน 122 คน และพ่อแม่ของพวกเขา 123 คน ผลของการศึกษา ยิ่งทำให้เธอมั่นใจ และเห็นถึงความสำคัญในการให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ของเด็กที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติ ซึ่งควรหมั่นสังเกตพฤติกรรม และคอยให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเสียแต่เนิ่นๆ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้