สัปดาห์ที่ 37

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณบ้าง
ยิ่งเจ้าหนูรู้สึกอึดอัดกับการที่ขยับตัวได้ลำบากมากขึ้นเท่าไหร่ ร่างกายของเขาก็ยิ่งปล่อยฮอร์โมนที่จะทำให้มดลูกมีการหดรัดตัวมากขึ้นออกมา ปฏิกิริยาทางเคมีเหล่านี้จะเป็นสัญญาณเตือนให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้  การตั้งครรภ์ของคุณจะครบเทอมในสัปดาห์นี้แล้ว นั่นหมายความว่าลูกของคุณพร้อมจะเกิดได้ตลอดเวลานับจากนี้ไป เด็กที่เกิดก่อนสัปดาห์ที่ 37 เราจะเรียกว่าคลอดช่วงต้นระยะการคลอด และถ้าเกิดหลังสัปดาห์ที่ 42 เรียกว่าคลอดช่วงหลังระยะการคลอด ลูกของคุณจะมีน้ำหนักประมาณ 2,400 กรัม และมีความยาวเกือบ 21 นิ้ว


จุดสร้างอวัยวะ 32 ชิ้นของลูก
ใบหน้าของหนูน้อยมีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว เจ้าหนูมีขนตา และเปลือกตาที่สามารถเปิด-ปิดได้ง่ายๆ แล้ว งานสร้างเยื่อหุ้มเซลประสาทในสมองจะยังคงมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงช่วงหลังคลอด ซึ่งเยื่อหุ้มเซลประสาท มีความสำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูกคุณ


ตรวจ.. เมื่อตั้งครรภ์
ตอนนี้ลูกของคุณพร้อมที่จะออกมาดูโลกได้ทุกขณะ การนัดพบแต่ละครั้ง คุณหมอจะเริ่มตรวจดูว่าช่องคลอดเปิดไปกี่เซนต์แล้ว และถ้าหากเกิดพบว่าปากมดลูกบางจนเกินไป ก็อาจจะทำการแก้ไขเสียก่อน และหากคุณหมอตรวจพบว่าเด็กลงไปอยู่ในตำแหน่งบริเวณกระดูกเชิงกรานแล้ว คุณหมอจะคำนวณดูว่าเด็กจะสามารถอยู่บริเวณนั้นได้นานแค่ไหน คุณควรเก็บรายละเอียดของการตรวจแต่ละครั้งไว้ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาคลอดพยาบาลจะทราบข้อมูลของคุณ และดูแลคุณได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าปากมดลูกยังไม่เปิดเจ้าหนูก็ยังจะเจริญเติบโตต่อไปภายในมดลูกจนครบ 40 สัปดาห์


กินอย่างไรให้แม่ลูกแข็งแรง
ในช่วงนี้ คุณควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วในปริมาณมากๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการที่ลูกน้อยของคุณจะแพ้สารบางชนิดในถั่ว ตอนนี้เขายังคงใช้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอยู่ จนกระทั่งเขาคลอดออกมาแล้ว จึงจะมีระบบภูมิต้านทานของตัวเอง สังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการบำรุงครรภ์ คุณควรกินซีเรียล ถั่วเหลือง หรือถั่วแดง และปลาทูน่า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้