Last updated: 1 ก.ค. 2568 |
ตอนที่ 3
พี่คนกลาง = คนที่ต้องเข้าใจทุกคน ยกเว้นตัวเอง
“อย่ายุ่งกับน้องนะ”
“เข้าใจแม่หน่อยสิ”
“พี่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีนะลูก”
ในบ้านหลังหนึ่ง
มีพี่คนโต = คนที่ต้องทำให้ได้ดี
น้องคนเล็ก = คนที่ต้องได้รับความใส่ใจ
แล้วพี่คนกลางล่ะ...อยู่ตรงไหน?
หลายคนเติบโตมาในบทบาทนี้
บทบาทของคนที่ต้องเข้าใจทุกคน
แต่ไม่มีใครถามเลยว่า
เราโอเคไหม
ชวนคิด:
เราเคยรู้สึกว่า “ต้องเข้มแข็ง” ทั้งที่ข้างในอยากร้องไห้ไหม?
เราเคยรู้สึกว่า “ต้องยอม” เพื่อไม่ให้บ้านมีปัญหาไหม?
เราเคยชินกับการไม่พูด...จนสุดท้าย ไม่มีใครฟังเราเลยไหม?
ถ้าคุณคือพี่คนกลาง — อย่าลืมกลับมาโอบกอดตัวเองด้วยนะ
ความเงียบของเราไม่ใช่ความเข้มแข็งเสมอไป
- บางครั้ง...มันคือความกลัวว่า "ถ้าพูด จะไม่มีใครฟัง"
เรามีสิทธิ์เหนื่อย และมีสิทธิ์ไม่โอเค
- ไม่ใช่เพราะเราอ่อนแอ แต่เพราะเราเป็นมนุษย์
เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคนตลอดเวลา
-คนที่ควรเข้าใจเราให้มากที่สุด...คือ ตัวเราเอง
ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า "Wednesday Child" หรือ "Middle Child Syndrome" คือปรากฏการณ์ของลูกคนกลางที่มักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่เหมือนลูกคนอื่น รวมถึงรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รักและรู้สึกแปลกแยกจากพี่น้อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากลำดับการเกิด (Order of Birth) โดย "Alfred Adler" นักจิตบำบัดชาวออสเตรียนได้พิเคราะห์ให้เห็นว่าการที่พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะพ่อแม่ได้ผ่านความตื่นเต้นจากการมีลูกคนโตไปแล้ว ทำให้ลูกคนกลางมีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจจากพ่อแม่น้อยลงทันทีที่ครอบครัวมีลูกคนเล็ก พ่อแม่ก็มักจะให้ความใส่ใจกับลูกคนเล็กมากกว่า”
แม้เราจะคิดว่าการเป็นลูกคนกลางที่หลายคนเป็นคิดว่าเป็นนางแบก แต่ข้อดีของการเป็นลูกคนกลางก็มีอยู่เช่นกัน
จากการศึกษาพบว่า 85% ของลูกคนกลางมักเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากกว่าลูกคนโต และมักมีความมั่นคงทางอารมณ์มากที่สุดในจำนวนบรรดาพี่น้อง
“ลูกคนกลางมีแนวโน้มเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี เนื่องจากการเป็นคนที่อยู่กลางระหว่างพี่น้อง สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนเป็นพี่ และเข้าถึงจิตใจของคนเป็นน้องได้ดี ทำให้ลูกคนกลางมักจะมีทักษะการเจรจาต่อรอง และมีความเห็นอกเห็นใจสูง”
หากคุณคือ “พี่คนกลาง” ลองมองมุมกลับว่า หลังจากที่เรารับบทบาทเป็นนางแบกอยู่ ในวันหนึ่งเราอาจจะกลายเป็นผู้นำทีมครอบครัวให้รุ่งเรืองต่อไปในอนาคตได้นะคะ
แชร์โพสต์นี้ ถ้าคุณเคยรู้สึกว่า
“พี่คนกลาง” เป็นบทบาทที่ไม่มีใครแต่งตั้ง...แต่เราต้องแบกรับมันมาตลอด
เครดิต:
- Daily Mail Online
- healthline
- choosingtherapy
- bangkokbiznews
2 มิ.ย. 2568
27 มิ.ย. 2568
15 มิ.ย. 2568