Last updated: 29 ก.ค. 2563 |
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น อาการที่มักตามมาเหมือนเงาตามตัว นั่นก็คือ อาการปวดหลัง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังเกิดจากการใช้งานที่มากเกินไป เช่น การยกของหนัก การก้มหน้าอยู่หน้าจอมือถือ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ รวมถึงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป วันนี้ทีมงานยังแฮปปี้จึงมีเทคนิคลดอาการปวดหลังมาแนะนำพี่ๆชาวสูงวัย เพื่อลดอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง และใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างไม่ต้องกังวล
ประคบน้ำแข็ง (ประคบเย็น) อาการปวดหลังเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อกระดูกสันหลัง เราสามารถลดอาการปวดหลังได้เบื้องต้นได้โดยค่อยๆเลื่อนถุงน้ำแข็งหรือไอซ์แพ็คที่ใช้กับหลังโดยเฉพาะ เลื่อนไปตามแนวหลัง ทำคล้ายๆกับการนวดประมาณ 5-10 นาที
นอนราบ หลังนาบพื้น นอนราบให้หลังสัมผัสกับเตียงนอน ใช้หมอนรองบริเวณใต้เข่าเพื่อรักษาหลังช่วงล่าง ดันแผ่นหลังให้ติดพื้น เกร็งหน้าท้องค้างไว้ 10 วินาที แล้วพัก 10 วินาที ทำซ้ำอีก 2 – 3 ครั้ง ถ้าหากหลังไม่สัมผัสกับเตียงนอน อาจใช้ผ้าขนหนูม้วนแล้วรองที่บริเวณหลัง
นอนงอเข่า วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดหลังบริเวณส่วนล่าง (ส่วนใกล้เอวและใกล้สะโพก)รวมถึงลดอาการปวดหลังแล้วร้าวลงไปที่สะโพก โดยนอนราบให้หลังสัมผัสกับพื้น ยกเข่าขึ้นมาทีละข้าง ใช้แขนรั้งเข่า ค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับขา ยกไว้ 10 วินาทีเท่ากัน
นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงทางซ้าย หนุนหมอนที่มีความสูงเท่ากับความกว้างของบ่าซ้าย() เอาขาขวาพาดไว้ที่หมอน (ป้องกันอาการชาที่ขาข้างซ้าย)และมีหมอนข้างเอาไว้กอด ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลัง รวมถึงเพิ่มความดันในตับ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
ดึงแขนข้ามไหล่ เหมาะสำหรับอาการปวดเมื่อยหลังส่วนบน (บริเวณใกล้กับต้นแขน) ให้ยกแขนข้างขวาขึ้นโดยตรง บิดแขนซ้ายไปด้านหลัง ปลายนิ้วไว้กลางหลัง งอศอกขวา พยายามนำนิ้วมือขวาและนิ้วมือซ้ายแตะกันให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที แล้วเปลี่ยนแขน สามารถทำจนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น
ลองขยับท่าทางดู หากทำวิธีเบื้องต้นแล้วอาการปวดหลังยังไม่หายเป็นปรกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นอาจจะหมายถึงการเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น เช่น โรคเนื้องอกหรือการอักเสบติดเชื้อ หากชาวสูงวัยหมั่นสังเกตความผิดปรกติของตนเองก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง อาการปวดหลังก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไปจ้า
30 มิ.ย. 2564
3 ม.ค. 2564
20 ส.ค. 2564