Last updated: 2019-08-07 |
"อารมณ์" เป็นวิธีธรรมชาติที่เด็กเล็กใช้แสดงความรู้สึก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถสอนให้พวกเขารู้จักจัดการกับอารมณ์ต่างๆได้เช่น
1. พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดี
รู้ไหมว่า.... ถ้าคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดแสดงอาการก้าวร้าวเวลาที่โกรธ เด็กๆก็จะเลียนแบบคนใกล้ตัวไปโดยธรรมชาติ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรพยายามสงบสติอารมณ์ ใช้น้ำเสียงและท่าทางปกติเมื่อเผชิญกับความโกรธ เพราะลูกจะซึมซับในสิ่งที่เห็น
2. พูดคุย
อธิบายอารมณ์ของคุณแม่อย่างเปิดเผยตัวอย่าง แม่รู้สึกไม่สบายใจและโกรธตอนที่หนูโยนอาหารลงบนพื้น หรือเมื่อหนูรื้อของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ทำให้ห้องเกะกะไปหมด หนูรู้ไหมทำให้แม่ต้องทำงานหนักขึ้น หรือเมื่อหนูเสียงดังตะโกนใส่แม่ รู้สึกทำให้แม่เศร้านะครับ การอธิบายให้ลูกฟังแทนการแสดงด้วยกริยา จะเป็นวิธีที่ลูกจะรู้ถึงสาเหตุได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรง
3. คอยสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมลูก
ถ้าคุณแม่เริ่มเห็นลูกมีพฤติกรรมหงุดหงิดเริ่มไม่สบอารมณ์ ให้คุณคอยอยู่ใกล้ๆ หาโอกาสสอบถามพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลห่วงใยว่า ตอนนี้ลูกรู้สึกมีอะไรไม่สบายใจหรือ จะให้แม่ช่วยอะไรหนูไหม ฯลฯ เด็กจะรับรู้ว่ามีคนใส่ใจและเรียนรู้ที่จะจัดการปัญหา นับเป็นบทเรียนแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้มัน
4. หากลูกแสดงพฤติกรรมหรืออารมณ์ไม่น่ารักให้ทำเป็นไม่สนใจ
ในกรณีที่ลูกไม่ได้เป็นเด็กก้าวร้าวจนมีโอกาสไปทำร้ายคนอื่น ลองปล่อยให้ลูกได้จัดการกับอารมณ์โกรธหรือความกระฟัดกระเฟียดด้วยตัวเอง บทเรียนนี้สอนให้ลูกเรียนรู้ว่าไม่ใช่แม่ไม่สนใจใยดีลูก เพียงแต่แม่ไม่สนใจพฤติกรรมไม่น่ารักของลูกเท่านั้นเอง
5. ไม่เร่งขอเหตุผล
เพราะขณะที่ลูกยังหมกมุ่นกับอารมณ์ตัวเองที่วุ่นวาย ลูกคงไม่สามารถฟังหรือเข้าใจเหตุผลได้เช่นกัน ดังนั้นจงให้เวลา
6. แนะวิธีการแสดงออกที่เหมาะสม
กฎเหล็กที่สำคัญคือคุณแม่ควรใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล เป็นมิตร ไม่ลูกรู้สึกถูกตำหนิ ตัวอย่าง คุณอาจพูดว่า...แม่รู้ว่าลูกโกรธ ลองดูอีกที ทำไมลูกไม่นำของเล่น ลับไปที่ห้องและอยู่คนเดียวล่ะ ลูกสามารถโกรธ ร้องไห้ แต่ลูกจะชกต่อยไม่ได้
7. คุณแม่ท่องไว้ ถึงรักก็ไม่ตามใจ
ทันทีที่ลูกคุณแสดงอารมณ์เพราะคุณแม่ไม่ตอบสนองหรือปฏิเสธไม่ให้ทำอะไรที่เขาอยากทำการตามใจลูกจะยิ่งทำให้ลูกคุณใช้การแสดงอารมณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต
8. ต้องการความสงบ
บางครั้งหากลูกอยู่ในที่สาธารณะมีคนพลุกพล่าน การนำลูกออกจากสถานะการณ์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะท่ามกลางอารมณ์ที่ครุกรุ่น เด็กก็ต้องการความเงียบสงบ หรือห้องเงียบๆเพื่อที่จะช่วยสงบออารมณ์
9. ท้ายสุด หากการใช้เทคนิค “ไม่สนใจ” ของคุณแม่ไม่ได้ผลจริงๆ
ลองเบนความสนใจของลูกด้วยของเล่นอื่นหรือกิจกรรมอื่น เพราะเด็กจะมีความสนใจอะไรสั้นๆ การหันเหความสนใจเป็นวิธีที่มักได้ผล สามารถดึงอารมณ์เด็กไปสู่อีกความรู้สึกหนึ่งได้ ทำให้ลูกเลิกงอน เลิกโกรธ และใช้พลังงานไปในเชิงสร้างสรรค์ทางอื่น
Nov 05, 2020
May 19, 2020
Nov 05, 2020
Nov 05, 2020