Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
คุณแม่หลายๆท่านวิตกกังวลถึงปริมาณนมที่ลูกดูดเข้าไปต่อวันว่าจะน้อยเกินไป เดี๋ยวจะทำให้หิว จะทำให้โต จะทำให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ยิ่งไปกว่านั้นกังวลถึงขนาดกลัวว่าเซลล์สมองจะหยุดการเจริญเพราะไม่สารอาหารไม่เต็มที่ ดังนั้นคุณแม่ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางที่จะให้ลูกได้ดูดนมเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งๆที่ลูกดูดจนจะเคลิ้มหลับ แต่คุณแม่ก็ยังจะคอยเขี่ยสะกิดสะเกามุมปากให้ลูกได้ดูดนมต่อไป แม้แต่ช่วงเวลากลางคืน ถ้าลูกเผลอทำปากแจ๊บๆ เมื่อไร คุณแม่ก็จะไม่รอช้าคอยเอาจุกนมยัดใส่ปากทันที
5 สาเหตุที่ลูกแหวะนมบ่อยที่สุด
1. กินมากเกินไป หรือถูกบีบบังคับให้กิน กลุ่มนี้ถึงม่าจะอ้วกเอาๆ แต่น้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือมากกว่าปกติด้วยซ้ำ
2. จับให้เรอแต่เอาลมออกไม่หมด สักพักลูกก็จะเรอออกมาเอง พร้อมกับนมที่กินเข้าไป
3. อารมณ์ไม่ดี หรือหลังจากร้องไห้นานๆ ทำให้ลูกกินลมในท้องมากพอ ทำให้แน่นอึดอัด
4. ไม่สบาย เช่น ไข้หวัด พบได้บ่อยๆในทารก หรือกินนมบูดส่งผลให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายๆ
5. ลำไส้อุดตันหรือแพ้นม
สังเกตอาการ พร้อมการแก้ไข
สำรวจว่าเกิดจากสาเหตุใด ถ้าเกิดจากการที่ให้นมลูกมากไป จะดูได้จากปริมาณนมที่ให้โดยยยรวมต่อวัน ตามปกติระย 4 เดือนแรก ปริมาณนมจะไม่เกิด 30 ออนซ์ต่อวัน แต่ขอให้เข้าใจว่าเด็กแต่ละคนต้องการปริมาณนมในแต่ละมื้อและมีระยะห่างไม่เท่ากัน บางรายทานนมครั้งละ 4 ออนซ์ จึงจะอิ่ม และนอนได้นาน แต่บางรายดูดเพียง 3 ออนซ์ก็อิ่มแล้ว ในขณะที่บางรายทุก 4 ชั่วโมงจะหิวนม บางรายเพียง 3 ชั่วโมงร้องไห้โวยวายหิว ดังนั้นคุณแม่จึงสังเกตพฤติกรรมของลูกเป็นหลักไม่ต้องยึดของเด็กรายอื่น เพียงให้ลูกมีการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติเพียงพอ
หนักเท่าไหร่ ถีงเข้าเกณฑ์
วิธีการที่จะคำนวณน้ำหนักของเด็ก คร่าวๆในช่วง 4 เดือนแรกของชีวิต จะถือว่าทารกได้นมเพียงพอจะทำให้น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้น 30-50 กรัมต่อวัน โดยมีข้อแม้ว่าในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังเกิด น้ำหนักของทารกจะลดลงทุกราย และควรจะมีน้ำหนักเท่ากับแรกเกิดเมื่ออายุ 2 สัปดาห์
ถ้าลูกคุณแม่อายุ 2 เดือน มีน้ำหนักแรกเกิด 2,800 กรัม ปัจจุบันน่าจะมีน้ำหนัก= (45x30กรัม) +น้ำหนักแรกเกิด 2,800 กรัม = 1,350+2,800 กรัม สรุปได้ว่าปัจจุบันนี้อายุ 2 เดือน ทารกน้อยควรมีน้ำหนักขั้นต่ำอย่างน้อย 4,150 กรัม
ดังนั้นถ้าลูกยังอ้วกบ่อย แต่น้ำหนักเกิน และเพิ่มขึ้นไปได้เรื่อยๆ ก็ขอให้พิจารณาในเรื่องปริมาณนมที่ให้ เพราะเด็กหลายคนเบรกตัวเองให้หยุดไม่ได้ มีอะไรเข้าปากก็จะต้องดูดไปเรื่อยๆ ทั้งๆที่ร่างกายก็ไม่ได้ต้องการสารอาหารเพิ่ม
แต่ถ้าคุณแม่หาสาเหตุไม่พบ ให้ปรึกษากุมารแพทย์ให้คำแนะนำนะคะ
29 ก.ย. 2566
10 ต.ค. 2566