Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
การเล่นเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งของเด็ก ซึ่งจะช่วยพัฒนาการเด็กในทุกๆด้าน ทั้งพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ ด้านสังคม และด้านภาษา นอกจากนี้แล้ว การเล่นก็ยังช่วยทำให้เด็กมีทักษะการแก้ปัญหาที่เป็น และมีพัฒนาการทางความคิดที่เป็นระบบ
อย่างไรก็ตามการเล่นก็ต้องดูให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัยด้วย เพราะการเล่นแต่ละวัย พัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก ก็ไม่เหมือนกัน
เล่นคือเรียน..ใช่หรือ
การเรียนที่ดีที่สุด ก็คือการเรียนที่มีความสนุกสนาน ทำให้สมองคนเรารับรู้ได้ แต่ถ้าต้องเรียนแล้วต้องเคร่งเครียดไปด้วย ความเครียดก็จะไปเบียดบังเปลืองเนื้อที่ไปกับความเครียดมากกว่าได้การเรียนรู้ ซึ่งจริงๆแล้ว การเล่นนอกจากได้ทักษะอะไรหลายๆอย่าง เพราะฉะนั้นการเล่นจึงถือเป็น Active Learning อย่างหนึ่งที่เด็กจะได้มีอิสระในการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยเสริมพัฒนาการและทักษะชีวิตได้
โรงเรียนไม่สอนท่องจำ แต่จะใช้เวลาไปกับการเล่น เด็กจะอ่อนวิชาการไหม?
เพราะการเรียน เป็น Active Learning อย่างหนึ่ง ถ้าผู้ดูแลเด็กดูแลการจัดสภาพแวดล้อมการเล่นที่เหมาะสม ในแต่ละวัย ก็จะเป็นการช่วยเสริมเรื่องพัฒนาการ และทักษะที่จำเป็นซึ่งเป็นตัวต่อยอดการเรียนรู้ได้ดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลเลยกรณีที่ว่า เล่นมากกว่าเรียน เด็กจะอ่อนวิชาการ เพราะถ้าเราได้ช่วยจัดสรรการเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสมในแต่ละวัย การเล่นนั้นๆจะเป็นตัวช่วยเสริมทำให้เด็กมีความเก่งในแต่ละวิชาได้อีกด้วย ตัวอย่างการเล่นในวัยอนุบาล เด็กวัยนี้จะชอบเล่นบทบาทสมมุติ เล่นเป็นหมอ เล่นเป็นพ่อแม่ เล่นเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายของ นอกจากเด็กได้ฝึกทักษะการใช้ภาษา สังคม ซึ่งเวลาเป็นแม่ค้าก็มีการคิดเลข ก็ฝึกให้เก่งขึ้นได้ เด็กบางคนมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักดัดแปลงหาอุปกรณ์มาทำป้ายร้าน ป้ายราคา ก็ฝึกด้านภาษา การเขียนด้วย
อีกอย่างที่สำคัญ ถ้าผู้ดูแลไปเร่งการเรียนเด็กอย่างเดียว ในขณะที่พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กยังไม่ดีพอ ทำให้เวลาเขาเขียนหนังสือ ก็ทำให้เขียนลายมือไม่สวยได้ เมื่อถูกดุถูกว่าก็ไม่อยากเรียน พัฒนาการของเด็กจึงต้องควบคู่ไปกับการเล่นที่เหมาะสม และเรียนรู้ผ่านการเล่นที่ไม่เคร่งเครียด สนุกสนานตามวัยก็จะทำให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น และทำได้ดี
เมื่อแท็บเล็ตสั่งลูก หยุดร้องได้
คำถามที่ถามมาบ่อยคือ เวลาลูกร้องไห้ งอแง พ่อแม่มักหยิบแท็บเล็ตยื่นให้แล้วลูกหยุดร้องงอแง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง เพราะปฏิกิริยาแรกที่เราเห็นคือ เด็กหยุดร้อง จริง แต่นั้นก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น หลังจากนั้นเด็กจะค่อยๆเรียนรู้ว่า ถ้าจะทำให้พ่อแม่รำคาญ ต้องร้องไห้ งอแง ก็จะได้เล่นแท็บเล็ต
ซึ่งผลที่ตามมาคือ จะกลายเป็นติดแท็บเล็ต ซึ่งส่งผลทำให้เด็กขาดโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่นหมดโอกาสออกไปวิ่งเล่นที่พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และเมื่อติดแท็บเล็ต ครั้งพอพ่อแม่บอกให้หยุดเล่น ก็จะพบปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาทางด้านอารมณ์ และพฤติกรรม ดังนั้นการที่พ่อแม่ยืนแท็บเล็ตเพื่อหวังให้เด็กหยุดร้อง ตัดรำคาญ มันไมได้ช่วยให้เด็กรู้จักการควบคุมอารมณ์ตัวเอง
ลูกน้อยมีเพื่อนในจินตนาการ พ่อแม่ควรจัดการอย่างไร
คำว่าเพื่อนในจินตนาการของหนูน้อย เราอาจเจอได้เด็กในวัย 3-5 ขวบ เป็นช่วงที่เขามีพัฒนาการทางด้านภาษาและความคิดแล้ว แต่ยังไม่สมบรูณ์ แต่ก็ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีเพื่อนในจินตนาการ ดังนั้นเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการบางคนมักมีสาเหตุ อาทเด็กที่มีความเหงา ก็อยากมีเพื่อนแก้เหงา หรือเด็กที่มีปัญหาอะไรสักอย่างที่เขาไม่สามารถจัดการได้ในชีวิตจริง เขาจึงอาจมีเพื่อนในจินตนาการเป็นตัวช่วยให้เขาสามารถอยู่แก้ไขปัญหากับสถานการณ์นั้นได้ เพราะฉะนั้นหากพ่อแม่พบว่าลูกมีเพื่อนในจินตนาการ สิ่งสำคัญแรกๆที่ควรปฏิบัติคือ พ่อแม่ต้องห้ามล้อเลียนเด็กเช่น เอ๊ะหนูเล่นกับใคร ลำดับต่อไปพ่อแม่ควรทำความเข้าใจกับเด็กก่อนว่า เขามีความต้องการอะไรที่เขาไม่สามารถบอกเราได้ หรือเปล่า และค่อยๆสอนให้เด็กรู้จักการจัดการกับอารมณ์ จัดการกับปัญหาที่เกิด
ถ้าเด็กมีเพื่อนในจินตนาการแล้ว สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องระวังเป็นพิเศษกรณีถ้าลูกทำผิด แล้วใช้เพื่อนจินตนาการเป็นแพะรับบาปในความคิดของเขา พ่อแม่ต้องเข้าไปสอนลูกว่า พ่อและแม่รู้ว่าเพื่อนในจินตนาการไม่ได้ทำ แต่เมื่อหนูผิดแล้ว หนูต้องแก้ไข ซึ่งปัญหามีไว้แก้ไขได้ และเมื่อลูกหมกหมุ่นกับเพื่อนในจินตนาการมากเกินไป จนเขาไม่สามารถควบคุมเพื่อนในจินตนาการได้ หรือถ้าเพื่อนในจินตนาการบอกให้เขาไปทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อตัวเขาเองหรือต่อคนอื่น แนะนำให้พ่อแม่พาลูกปรึกษากุมารแพทย์
เล่นตามวัย ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
วัยทารก ถึง 1 ปี ช่วงนี้เด็กจะพัฒนาการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของเล่นต้องเป็นของเล่นที่มีเสียง เช่นโมบายสีสวย ภาพเคลื่อนไหว กรุ๊งกริ๊งมีเสียง หรือมีเครื่องอะไรให้เขย่าหรือเคาะ
เด็กวัยเตาะแตะ 1-3 ปี
เป็นเด็กจะมีพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อ มัดเล็กใหญ่ และภาษา เพราะฉะนั้นของเล่นที่เหมาะต้องออกแรงพัฒนากล้ามเนื้อเด็กวัยซน อาทิ พวกรถเข็นรถลาก ของเล่นที่มีการตอก เป็นนิทานภาพ
เด็กวัยก่อนอนุบาล วัย 3-4 ปี
เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษา กล้ามเนื้อที่ดียิ่งขึ้นแล้ว การเล่นจะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น เด็กอาจเริ่มมีเล่นของเล่นที่ยากขึ้น เช่น สมมุติเป็นพ่อค้า แม่ค้า
วัยอนุบาล 4-5 ปี
เด็กวัยนี้จะมีสังคมอีกสังคมคือสังคมเพื่อน เด็กวัยนี้อาจเล่นอะไรที่เริ่มมีกฎ กติกา หรือ เล่นเป็นเรื่องเป็นราวอะไรซับซ้อนกว่า เล่นสมมุติธรรมดา
วัยเรียน เด็กโตแล้ว การเล่นต้องเป็นการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา มากยิ่งขึ้นเป็นการเล่นที่เหมาะกับลูก
23 ส.ค. 2567
20 ก.พ. 2566
10 ต.ค. 2566