พัฒนา I.Q และ E.Q เด็กยุคดิจิตอล

Last updated: 23 มิ.ย. 2562  | 

แล้วเทคนิคการพัฒนาสมองลูกมีอย่างไรบ้าง
สำหรับเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดถึง อายุ 6 ปี เรียกว่า เป็นช่วงวัยทองในการที่สมอง พัฒนาแตกกิ่งก้านสาขา เส้นใยสมอง หรือเรียกว่าไซแมป มากที่สุด หรือเรียกว่า ช่วงทองของมหัศจรรย์ของสมองมนุษย์ หากเด็กคนไหนโชคดี พ่อแม่หรือผู้ดูแลไม่ปล่อยปละละเลยแต่ฉกฉวยโอกาสในช่วง 6 ปีนี้ในการกระตุ้นให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด

เรามาทำความเข้าใจการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกกันนะคะ

สมองซีกซ้าย
เป็นส่วนที่รับรู้ด้านตระกะอาทิเช่น การคิดเชิงเหตุและผล การวิเคาระห์ การคำนวณ การเขียน หรือการเคลื่อนไหว

สมองชีกขวา
เป็นส่วนที่รับรู้ด้านอารมณ์ ศิลปะอาทิเช่น จินตนาการ คุณธรรม อารมณ์ สุนทรีย์ เป็นต้น



เราจะส่งเสริมพัฒนาสมองเด็กยุคดิจิตอลแต่ละวัยอย่างไร

  1. การเรียนรู้สมองเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี
    เด็กเร่ิมเรียนรู้ตั้งแต่ในท้องแม่ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนออกมาสู่โลกใบนี้ฉะนั้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง อารมณ์ ความรู้สึกของแม่มีผลกระทบถึงลูกในครรภ์มากที่สุดในช่วงนี้ แม่หรือพ่อควรพูดคุยกับลูกเป็นประจำ

         ในช่วงแรกเกิดการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี จะส่งผลกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ เช่น บรรยากาศห้องโปร่ง โล่งไม่อึดอัด ต้องไม่มีเสียงดังหรือเงียบจนเกินไป ใช้โมบายเพื่อกระตุ้นการมอง การใช้สายตาให้เด็กได้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว เด็กที่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ เด็กที่ไม่ค่อยได้พบปะผู้คนจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อเจอคนแปลกหน้า อาจตกใจและร้องไห้ทุกครั้งที่พบเจอผู้ท่ีไม่คุ้ยชิน เมื่อลูกเข้าสู่วัย 6-9 เดือน เด็กจะเริ่มคลาน และเริ่มสนใจสิ่งใหม่ๆ รอบข้างและ อยากจะเรียนรู้ด้วยตนเอง

         จัดหาของเล่นที่ให้เด็กได้พัฒนาประสาท สัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้ยินการใช้ ปาก จมูก และจากการสัมผัสให้ได้มากท่ีสุดใน วัยนี้ ตามทฤษฎีของ ฟรอย์ Freud’s theory of personal development ได้กล่าวว่า เด็กในวัยนี้เป็นช่วง Oral Stage ที่เด็กเรียนรู้และมีความพึง พอใจด้วยการใช้ปากในการดูดหรือกลืนด้วยการเอาสิ่งท่ีตนเองสนใจโดยการหยิบเข้าปากเพื่อการเรียนรู้ พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและ ความปลอดภัย และคุณภาพของของเล่น ควรเลือกของเล่นที่ปลอดสารพิษ non- toxic หรือมีฉลากระบุความเหมาะสมในการเล่น ตามวัยของเด็ก

  2. การเรียนรู้สมองเด็กวัย 1-2 ปี
         การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ของเด็ก เร่ิมแข็งแรงขึ้นตามลาดับ เด็กสามารถเดินได้เองทรงตัวได้ดีขึ้น มีการทางานประสานความ สัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อ ตา การเคล่ือนไหวได้ดีขึ้น เริ่มสามารถขีดเขียน สามารถรู้และเรียกอวัยวะร่างกายของตนเอง เด็กอาจเริ่มฝึกรับประทานอาหารได้เอง คุณแม่อาจต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้ลูกได้ฝึกทานข้าวเองซึ่งอาจทำให้ เลอะเทอะไปซะระยะหนึ่งลูกก็จะเกิดการเรียนรู้ เคยชินในการหยิบอาหารเข้าปาก ได้โดยไม่หกและมีความมั่นใจมากขึ้นในตรงกันข้ามหากคุณแม่ไม่เข้าใจ การห้ามปราม หรือ หงุดหงิด เมื่อลูกทำเลอะเทอะ เป็นการบั่นทอนความมั่นใจของลูก อย่างน่าเสียดายและโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยตนเอง คุณแม่บางท่านรักสะอาดกลัวลูกทำหก ทำให้บ้านสกปรก ก็ใช้การป้อนอาหารให้ลูก

         ในวัยนี้เป็นวัยอยากรู้อย่างเห็น เริ่มมีความมั่นใจตนเอง อยากทำอะไรด้วยตนเอง คุณแม่เป็นแต่ผู้ช่วยผู้สนับสนุนนะคะ อีกทั้งวัยนี้เด็กบางคน พูดเร็ว ก็จะช่างชักช่างภาพเป็นเจ้าหนูวัยจำ เตรียมคาตอบข้อมูลดีๆนะคะ จะได้ไม่จนมุมหา คำตอบให้ไม่ได้

  3. การเรียนรู้สมองเด็กวัย 2-6 ปี
         มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาอย่างธรรมชาติตามบุคลิกที่หลากหลาย เด็กบางคนมีบุคลิกที่ช่างพูดช่างเจรจา ในขณะที่บางคนเป็นคนสุขุมเงียบ ช่างคิด คิดก่อนท่ีจะพูด ฉะนั้นหากพ่อแม่เข้าใจธรรมชาติ นี้ก็จะสามารถสนับสนุนลูกได้อย่างเข้าใจรักลูก อย่างที่ลูกเป็นไม่เปรียบเทียบ เด็กในวัยนี้สามารถ เคล่ือนไหว วิ่งได้เร็วขึ้น เริ่มเข้าสังคมตามลักษณะของตนเอง ชอบทำกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อน ทั้งต่างวัยและวัยเดียวกัน การใช้อารมณ์เริ่มลดน้อยลง แต่ถูกแทนที่ด้วยเหตุผล วันหยุดพาลูกท่องโลกกว้างนะคะ ให้ลูกได้เรียนรู้ส่ิงใหม่ๆ เป็นการพัฒนาการ เรียนรู้ภาษา เช่น ไปพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ทะเล ฝึกงานศิลปะ การทำอาหาร งานฝีมือ การเที่ยวชื่นชมธรรมชาติ หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น ทำให้ลูกได้ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆ และสังคมใหม่อีกด้วย และเพิ่มพูนความมั่นใจตนเอง อีกทั่งเป็นการเสริมสร้างกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่และลูก

         เทคนิคการเสริมอีคิว Emotion Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความ สามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุม ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์



วิธีการเลี้ยง ส่งเสริมความฉลาด ทางอารมณ์

ทางตรง
- การบอก สอนในสิ่งที่ถูกต้อง บอกด้วยเหตุผล ฝึกให้ลูกเข้าใจว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ และเหตุผล เช่นทำไมและอะไรคือเหตุผลที่ลูกแย่งของของเพื่อนไม่ได้
- การชื่นชมเมื่อลูกทำดีทำสิ่งที่ถูกต้องและ ลงโทษอย่างเหมาะสมเมื่อลูกทำผิด
-การให้ลูกเข้าใจความรู้สึกของตนเอง เช่น ตอนที่เพื่อนแย่งของเล่นของลูก ลูกรู้สึกอย่างไร ตอนที่ฝนตกทำให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้านไม่ได้ถามความรู้สึกและแชร์ ความรู้สึกของคุณต่อลูกด้วยตามสภาวะอันเหมาะสม

ทางอ้อม
- พ่อแม่นับว่าเป็นแบบอย่างที่สำคัญท่ีจะสะท้อนและเป็นต้นแบบให้ลูกได้อย่างดีท่ีสุด หากพ่อแม่สามารถเป็นต้นแบบและจัดการ อารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
- การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดจะทำให้พ่อแม่ไม่สามารถเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดเพื่อสอดแทรกข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ลูกได้ เช่น ในระหว่างการดูรายการที่ลูกชื่นชอบ หรือในช่วงเดินทางก่อนกลับจากโรงเรียน หรือระหว่างรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
- การสรา้งบรรยากาศภายในบ้านไม่ให้ตึงเครียด พ่อแม่มีอารมณ์ที่คงเส้นคงวา ทำให้ลูกรู้สึกสบายใจเปิดเผยความรู้สึกนึกคิด 
- รู้จักการผิดหวังการฝึกหัดให้เด็กรู้จักการรอคอย ไม่ใช่ว่าลูกอยากได้อะไร พ่อแม่ก็รีบ จัดหาให้ทันที

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้