Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
1.เวลาของการกระตุ้น
กระตุ้นความสนใจของลูกน้อย พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกและยังสามารถกระตุ้นพัฒนาการต่างๆ ให้ลูกน้อยเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เทคนิคแรกอยากให้ลองเล่นมองหน้าลูกน้อยอย่างอารมณ์ดี ยิ้มให้เขาพูดคุยทักทายกับเขา หยอกเล่นกับเขา ค่อยๆ กระตุ้นความสนใจให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับเรา ทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งรอบข้างมากขึ้น
2.กอด สัมผัส หอม
บอกรักลูกน้อยให้เกิดความไว้วางใจ เทคนิคนี้จะใช้ในช่วงเดือนที่ลูกน้อยโตขึ้นมาหน่อย ประมาณสัก 2-4 เดือน คุณแม่คุณพ่อควรแสดงความรักต่อลูกน้อย โดยการพูดคุยด้วยความรัก ความเอาใจใส่ รวมถึงการใช้ภาษากายที่แสดงให้ลูกน้อยรับรู้ได้ถึงความรักของคุณแม่คุณพ่อที่มีต่อเขาข้อนี้อาจจะดูเล็กน้อยจนทำให้หลายคนไม่ใส่ใจ แต่ต้องบอกว่านี่คือเทคนิคที่จะสร้างพื้นฐาน มีความสำคัญต่อจิตใจให้ลูกน้อย ที่จะเรียนรู้ เปิดรับโลกกว้าง และเข้าใจชีวิตในอนาคตของเขามากขึ้น ซึ่งก็มีผลการยืนยันจากหลายส่วนพบว่า เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีพื้นฐานดี มักจะเป็นคนฉลาดแจ่มใส และสามารถเรียนรู้สิ่งรอบข้างได้เร็วยิ่งขึ้น
3.กระตุ้นพัฒนาการ
ด้วยการเรียนรู้ผ่านสีหน้าและน้ำเสียง หรืออาจจะลองเล่นเกมให้ลูกน้อยส่งกระจก ในช่วงเดือนที่ขยับวัยขึ้นมาประมาณ 3-10 เดือนคุณแม่คุณแม่อาจจะลองให้เขาแสดงสีหน้า ดีใจ เศร้า ตกใจ เสียใจ ผ่านกระจกหรือคุณพ่อคุณแม่ลองทำสีหน้าที่บ่งบอกได้ถึงอารมณ์ต่างๆ ให้เขารับรู้ลองดู เช่นการปรบมือและยิ้มเพราะต้องการแสดงถึงความดีใจ หรือการหัวเราะเมื่อลูกน้อยทำท่าทางเลียนแบบคุณ เทคนิคข้อนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการความฉลาดให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถรับรู้ได้ว่าลูกน้อยของคุณนั้นนิสัยของเขา ตัวตนของเขาเป็นอย่างไร เช่น เมื่อคุณทำสีหน้า อาการต่างๆ เขาเลียนแบบคุณได้รวมถึงอารมณ์ดีอย่างชอบใจ นั่นก็เขาให้เห็นแล้วว่าเขาเป็นเด็กที่มีพัฒนาการดีอารมณ์ดี แถมยังสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วอีกด้วย
4.สร้างสถานการณ์
เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยแก้ปัญหา ในวัยช่วง12 เดือน ลูกน้อยจะมีการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการต่างๆมากขึ้น การกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยฝึกทักษะให้เขารับมือกับการช่วยเหลือตัวเองบ้าง หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเองอย่างเป็นเหตุเป็นผลบ้าง เช่น ลองซ่อนของเล่นที่ลูกน้อยชอบเล่นเป็นประจำไว้ในมุมที่แตกต่างไปจากเดิม จากนั้นให้เขาเริ่มหาของเล่นด้วยตนเอง เด็กบางคนอาจจะลองร้องไห้งอแงแต่คุณแม่คุณพ่อสามารถพูดให้ลูกน้อยเข้าใจ พร้อมกับอธิบายว่าเขาควรจะหาอย่างไร หรือให้เขาลองหาด้วยตนเอง เพื่อให้เขาได้เรียนรู้เรื่องต่างๆมากขึ้น ซึ่งนี่จะเป็นพื้นฐานให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีในอนาคต
5.อาหารดีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย
เรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ เพราะอาหารดีย่อมทำให้ลูกน้อยมีสุขภาพร่างกายที่ดีรวมถึงพร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างแข็งแรง ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ดูแลเรื่องอาหาร หรือไม่เลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ต่อช่วงวัย ก็เท่ากับว่าที่ผ่านมาข้ออื่นๆ ก็จะด้อยตามลงไปด้วย เพราะอาหารดี คือองค์ประกอบสำคัญของร่างกายแข็งแรงและเมื่อร่างกายดีแล้ว ลูกน้อยก็ย่อมง่ายต่อการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อาหารดีสำหรับลูกน้อยวัยขวบปีแรก เช่นเนื้อไก่ เนื้อปลา นม ผัก ผลไม้ อาทิ มะละกอ มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น โดยแบ่งออกเป็น 5 มื้อ คือ เช้า กลางวัน เย็น และอาหารว่าง 2 มื้อ ในช่วงเช้ากับช่วงบ่าย
6.ในช่วงวัยขวบปีนิดๆ
กระตุ้นกิจกรรมเพื่อให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่แข็งแรง เพราะช่วงวัยนี้จะสามารถเคลื่อนไหวได้ช้าๆ บ้างแล้ว คือ คลานเดินเตาะแตะ ซึ่งจะเป็นไปอย่างไม่คล่อง และในการหัดเดินก้าวแรก ลูกน้อยยังไม่มีความมั่นใจในการก้าว อาจเกิดการล้ม ร้องไห้งอแง จนไม่อยากลุกขึ้นก้าวเดินอีกเรื่องนี้คุณแม่คุณพ่อ ควรอยู่ใกล้ๆ เขา คอยกระตุ้นให้กำลังใจ ทำให้บรรยากาศการก้าวเดินของลูกน้อยอยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน อาจจะชวนเขาเล่นเขาคุยไปด้วยขณะที่เขากำลังค่อยๆ ทดลองก้าว หรืออาจจะกางมือไว้ แล้วเรียกเขาให้เดินมาหา ก็ถือเป็นเทคนิคที่ดี หรืออาจจะหาของเล่นที่มีเสียงให้ลูกน้อยจูงลากไปมา เช่น รถของเล่นเด็ก หรือ ตุ๊กตาที่ลูกน้อยชอบนำมาผูกเชือกให้เขาจูงลากเล่นไปมา เพื่อให้บรรยากาศการฝึกก้าว มีความสนุกมากขึ้น ซึ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ของลูกน้อยแข็งแรงมากขึ้น
7.กระตุ้นความฉลาดทางอารมณ์
เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามหลังจากที่ฝึกเรื่องต่างๆไปแล้ว เรื่องอารมณ์ของลูกน้อยคือหนึ่งเรื่องที่ควรใส่ใจซึ่งคุณแม่คุณพ่อสามารถกระตุ้นให้ลูกน้อยมีภาวะทางอารมณ์ที่ดี และมีความฉลาดทางภาวะอารมณ์ได้ถึงแม้ว่า ช่วยวัยนี้จะยังพูดไม่รู้เรื่องมากนัก หรืออาจจะสื่อสารกับเราได้ไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ภาษากาย ภาษาทางอารมณ์ของ คุณแม่คุณพ่อล้วนสื่อสารถึงลูกน้อยได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างการชมลูกน้อย เมื่อเขาทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ ชมด้วยความจริงใจ ไม่ใช่การพูดไปเรื่อย เช่น เมื่อเห็นลูก น้อยทานข้าวด้วยตนเองหมดจาน คุณแม่คุณพ่อลองชมลูก น้อยลองดูนะคะ “ลูกแม่เก่งมากเลย ทานข้าวหมดจาน” หรืออาจจะปรบมือชื่นชมลูกน้อย เมื่อเขาทำสิ่งต่างๆ ด้วย ตนเอง หรือชื่นชมเขาเมื่อรู้จักแบ่งของเล่นให้เพื่อน คำชมจะมีผลต่อความสุขของลูกน้อย รวมถึงมีผลต่อ ความฉลาดของลูกน้อย ยิ่งหากลูกน้อยสามารถจัดการกับ สิ่งของของเขาได้ เช่น เก็บของเล่นเข้าที่ทุกครั้ง แล้วได้ รับคำชมหรือสัมผัสได้ถึงความภูมิใจจากคุณแม่คุณพ่อด้วย แล้ว บอกเลยว่าคำชมจะประทับอยู่ในใจลูกน้อยเสมอ
29 ก.ย. 2566
10 ต.ค. 2566