Last updated: 23 มิ.ย. 2562 |
มีอะไรเกิดขึ้นกับคุณบ้าง
ข้อต่อกระดูกเชิงกรานของคุณเริ่มขยายออก มดลูกขยายใหญ่ขึ้นจนสร้างปัญหาใหม่ๆ ในสัปดาห์นี้ ศีรษะทารกอาจเคลื่อนลง และมีลำตัวใหญ่จนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง และยังเป็นแรงกดจนทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บชายโครง ฉะนั้น การนั่งลำตัวตรง จะช่วยลดแรงกดที่ซี่โครงได้ มดลูกจะเบียดเข้าไปในอวัยวะภายใน และมีการคั่งค้างของของเหลว ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอดและข้อศอกและนิ้วบวม ฉะนั้น คุณแม่ควรถอดแหวน และไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่คับแน่น อย่างไรก็ตามอาการจะหายไปได้เอง เมื่อหัวของเด็กเริ่มเคลื่อนลงสู่บริเวณกระดูกเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
อุปสรรค์ที่ต้องฟันฝ่า
เมื่อเจ้าตัวน้อยมีขนาดลำตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ในมดลูกจะคับแคบลงสำหรับเขา ความพยายามเคลื่อนไหวของเขาอาจเป็นสาเหตุให้คุณรู้สึกปวดบริเวณท้องขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน แต่อาการดังกล่าวจะหายไปได้เอง เมื่อเด็กเอาหัวลงได้แล้ว
แอบดูพัฒนาการเจ้าตัวเล็ก
ปลายสัปดาห์นี้ ลูกของคุณจะมีน้ำหนักประมาณ 1500 กรัม เขาไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวมากเท่าไรแล้วในตอนนี้ เพราะโลกใบน้อยภายในรกเริ่มคับแคบสำหรับเขาขึ้นมาทีละน้อย ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของหนูน้อยจะถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในสัปดาห์นี้ เพื่อเตรียมตัวสำหรับการคลอดออกมาดูโลกในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะช่วยปกป้องหนูน้อยจากโรคภัยทุกชนิด แต่ในช่วงที่ยังอยู่ในครรภ์ หนูน้อยยังต้องพึ่งพาสารแอนตี้บอดี้ในร่างกายคุณแม่จำนวนเล็กน้อย ที่จะซึมผ่านผนังกั้นรก เข้าสู่ในกระแสเลือด เพื่อช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันโรคชั่วคราว จนกว่าระบบภูมิคุ้มกันของทารกจะเจริญเต็มที่ ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีก 6 เดือน หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว
ตรวจ.. เมื่อตั้งครรภ์
ขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นของเจ้าหนู ทำให้เขาเคลื่อนไหวได้ลำบากขึ้น คุณจึงรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลงในช่วงนี้ ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ แต่ถ้าเขาดิ้นน้อยมากจนเกือบหายไปเลยอย่างนี้ถึงจะต้องปรึกษาแพทย์แล้วล่ะค่ะ
กินอย่างไรให้แม่ลูกแข็งแรง
ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มดลูกของคุณจะขยายใหญ่มากจนไปกดทับอวัยวะภายในท้อง และเป็นสาเหตุให้คุณมีอาการพะอืดพะอมไม่อยากอาหาร แต่คุณควรฝืนกิน อย่างน้อยก็ควรกินให้ได้สักวันละ 200 แคลอรี่ โดยอาจจะกินขนมปังโฮลวีตทาหน้าสัก 2 แผ่น หรือกล้วยสักใบ
10 มิ.ย. 2562
29 ก.ย. 2566