ทำความรู้จักกับโรคขาดธรรมชาติ (Nature Deficit Disorder) และวิธีแก้ไข

Last updated: 6 ต.ค. 2565  | 

 

โรคขาดธรรมชาติ (Nature Deficit Disorder) ถูกพูดถึงครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2005 ในหนังสือ The Nature Principle และ Last Child in the Woods ของนักเขียนชาวอเมริกัน “ริชาร์ด ลุฟว์” ซึ่งสร้างความตื่นตัวในวงการแพทย์ สาธารณสุข และการศึกษาที่มีต่อเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน ได้เผชิญวัฒนธรรมติดจออิเล็กทรอนิกส์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะติดเกม ติดโซเชียลมีเดีย รวมถึงมีสัมพันธ์และเรียนรู้โลกของธรรมชาติที่เปลี่ยนไป

 

และเด็กๆ ในยุคนี้ มีแนวโน้มเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่ต่างไปจากในอดีต เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น บวกกับสถานการณ์โควิด 19 ทำให้เด็กๆ ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน จึงขาดโอกาสในการสัมผัสกับธรรมชาติ และกิจกรรมนอกบ้าน

 

 

ถึงแม้ผู้คนจะเริ่มออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีส่วนหนึ่งที่ยังกังวลกับโควิดทั้งสายพันธ์เก่าและสายพันธุ์ใหม่อย่าง โอไมครอน และเพื่อไม่ให้เด็กๆ ห่างหายจากธรรมชาติมากเกินไป พ่อแม่สามารถ #ยกธรรมชาติเข้ามาไว้ในบ้านได้ ด้วยมุมต่างๆ ต่อไปนี้

  1. มุมเล่นทราย
    พ่อแม่ลองมองหาพื้นที่เล็กๆ สักมุมภายในบ้าน สร้างบ่อทรายให้กับลูกลงไปเล่นทั้งตัวได้ แต่ถ้าที่บ้านไม่มีพื้นที่ เราสามารถนำทรายใส่ถาดหรือกล่องพลาสติกให้ลูกได้เล่นได้ ถ้าลูกแพ้ฝุ่นแพ้ทราย เราสามารถใช้ข้าวสาร เมล็ดถั่วทดแทนได้เหมือนกันค่ะ เพื่อให้มือของเด็กๆ ได้รับกระตุ้นการสัมผัสจากธรรมชาติ


    2. มุมสีเขียว
    พ่อแม่ควรมีพื้นที่สีเขียวในบ้านให้กับลูก เช่น ถ้าบ้านมีบริเวณก็สามารถปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า ปลูกดอกไม้ ปลูกผัก หรือถ้าบ้านที่อยู่อาศัยเป็นคอนโดมิเนียมที่ไม่ได้มีบริเวณมากนัก คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถปลูกต้นไม้ดอกไม้ในกระถาง ซึ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้คุ้นเคยใกล้ชิดกับธรรมชาติได้เหมือนกันค่ะ


    3. มุมเล่นน้ำ
    จะใช้อ่างน้ำ บ่อน้ำ หรือแม้แต่กะละมังซักผ้าก็ยังได้เลยค่ะ ซึ่งการเล่นน้ำนั้นสำคัญต่อพัฒนาการเด็กด้วยนะคะ เพราะมีงานวิจัยออกมาว่า การให้เด็กเล่นน้ำ สามารถกระตุ้นประสาทสัมผัส (sensory) และส่งเสริมพัฒนาการในเด็กได้ดีมาก และยังช่วยลดภาวะความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความหงุดหงิด ใจเย็นขึ้น มีสมาธิมากขึ้น แถมกระตุ้นจินตนาการสร้างสรรค์ด้วยค่ะ



    นอกจากการให้ลูกได้ซึมซับกับธรรมชาติ ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอแล้ว อยู่เสมอแล้ว พ่อแม่อย่าลืมปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็กในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยนะคะ  

พักสายตาฟังบทความนี้ แบบ Audiobook คลิกเลยค่ะ

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้