โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเด็กใช้เวลากับหน้าจอ ไม่เหมาะสม

Last updated: 19 ก.พ. 2565  | 

การดูหน้าจอในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี มักจะมีพฤติกรรมการติดหน้าจอ ทำให้สมาธิที่ลดน้อยลง และอารมณ์ที่ไม่มั่นคง สาเหตุมาจากสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ของเด็กวัยนี้ยังเติบโตไม่เต็มที่ สมองส่วนนี้ควบคุมเรื่องของการควบคุมตัวเอง (Self-regulation) ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการควบคุมตัวเองในเด็กเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เด็กมีแนวโน้มจะติดหน้าจอได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเขาควบคุมตัวเองให้หยุดดูได้ยากกว่าเรานั่นเอง

การดูหน้าจอในเด็กวัยต่ำกว่า 6 ปี มักจะมีข้อเสียมากกว่าข้อดีที่ได้รับมา เช่น พฤติกรรมการติดหน้าจอ สมาธิที่ลดน้อยลง และอารมณ์ที่ไม่มั่นคง สาเหตุมาจากสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ของเด็กวัยนี้ยังเติบโตไม่เต็มที่ สมองส่วนนี้ควบคุมเรื่องของการควบคุมตัวเอง (Self-regulation) ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการควบคุมตัวเองในเด็กเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เด็กมีแนวโน้มจะติดหน้าจอได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเขาควบคุมตัวเองให้หยุดดูได้ยากกว่าเรานั่นเอง

1. โรคออทิสติกเทียม หรืออาการคล้ายออทิสติก (Autistic-like Symptoms)
 
คือ เด็กไม่ได้เป็นโรคออทิสติก (Autistic Spectrum Disorder: ASD) มาโดยกำเนิด แต่เมื่อดูหน้าจอในปริมาณมากติดต่อกันจนทำให้มีอาการออทิสติกเทียม หรืออาการคล้ายออทิสติก (Autistic-like Symptoms) ซึ่งเป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้น ในการสื่อสารสองทาง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการสื่อสารกับผู้อื่น เนื่องจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับลูก เช่น ไม่พูดคุย ไม่เล่นกับลูก แต่ให้ลูกเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ One – Way Communication จึงส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคม เด็กจะไม่สามารถบอกความต้องการหรือปฏิเสธได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งบอกไม่ได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรหรือผู้อื่นรู้สึกอย่างไร และเด็กที่มีอาการนี้มักมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าในหลายด้านและมีปัญหาด้านพฤติกรรมร่วมด้วย
 
เลี้ยงลูกให้ห่างไกลพฤติกรรมคล้ายออทิสติก
#พูดคุยกับลูกบ่อยๆ สำหรับเด็กเล็กต้องพูดช้าๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้การออกเสียงและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดู อย่างน้อยควรคุยกับเด็กวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการสื่อสารแบบ Two – Way Communication และให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ที่ช่วยในการสื่อสาร ตลอดจนเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเด็กด้วยกันเองบ้าง
#ให้อยู่ห่างสมาร์ทโฟน
ในการเลี้ยงลูกช่วง 2 ขวบปีแรก ไม่ควรนำสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมาให้เด็กเล่น ในเด็กหลัง 2 ขวบ หากให้เล่นต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน โดยหลีกเลี่ยงการให้เด็กเล่นเพียงลำพัง ขณะเดียวกันต้องหมั่นสร้างความรักภายในความครอบครัว รวมถึงเสริมสร้างทักษะด้วยการเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการสมองและร่างกาย เช่น วาดรูป เล่นดนตรี ปั่นจักรยาน หรือปลูกต้นไม้

2. สมาธิสั้นเทียม (Pseudo-ADHD: Pseudo-Attention Deficit Hyperactivity Disorder)

เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นมักจะมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ซุกซน (Hyperactive) มีความตื่นตัวที่แสดงถึงอาการลุกลนตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่นิ่งได้ ต้องส่งเสียงพูดคุยหรือขยับตัวเคลื่อนไหวและทำเสียงดังโดยไม่ระมัดระวังอยู่เสมอ รวมถึงขาดความเอาใจใส่ (Inattention) ไม่สามารถรวบรวมสมาธิและใช้เวลาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มีอาการเหม่อลอยหรือไม่สนใจรายละเอียดของสิ่งรอบตัวบ่อยครั้ง และจะหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ขาดความยับยั้งชั่งใจในการแสดงออกและไม่สามารถอดทนรอคอยที่จะทำสิ่งต่างๆให้เป็นไปตามขั้นตอนหรือในจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้
.
#ความแตกต่างระหว่างโรคสมาธิสั้นและสมาธิสั้นเทียม คือเมื่อเด็กได้รับการดูแลและแก้ไขต้นเหตุแล้ว อาการสมาธิสั้นเทียมจะหายไป ในขณะที่โรคสมาธิสั้นจะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ ต้องรักษาด้วยการกินยาสมาธิอย่างต่อเนื่อง บางรายอาจต้องกินยาจนถึงวัยผู้ใหญ่ ต้องการการปรับพฤติกรรม และการดูแลอย่างต่อเนื่อง

การป้องกันลูกจากสมาธิสั้นเทียม

  •  กำหนดเวลาเล่น
  • หากิจกรรมอื่นทำ
  • พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี
  • ไม่ปล่อยให้เล่นคนเดียว 

 

แนวทางในการบำบัดรักษาเด็กๆ เหล่านี้ คือ การลด หรืองดเวลาหน้าจอโดยทันที การบำบัดด้วยการปรับ พฤติกรรมร่วมกับการกระตุ้นพัฒนาการ ส่งเสริมเวลาว่างด้วยการเล่นและการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว

พักสายตา .. ฟังบทความนี้ ในแบบ Audiobook คลิก

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้