Home isolation การแยกกักตัวที่บ้าน

Last updated: 15 ก.พ. 2565  | 

Home isolation คือ หนึ่งในแนวทางการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ระดับที่ไม่มีอาการหรือมีอาการอ่อนๆ ซึ่งถือเป็นผู้ป่วยสีเขียว ที่แพทย์พิจารณาว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้

 

เกณฑ์การ Home isolation สำหรับผู้ป่วย Covid-19
1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดีหรือไม่มีอาการ (Asymptomatic cases, Mild symptomatic)
2. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
4. อยู่คนเดียวหรือที่พักอาศัยสามารถมีห้องแยกเพื่ออยู่คนเดียวได้
5. ไม่มีภาวะอ้วน (ภาวะอ้วน หมายถึง ดัชนีมวลกาย >30 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรือ น้ำหนักตัวมากกว่า 90 กิโลกรัม)
6. ไม่มีโรคร่วม ดังต่อไปนี้ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคไตเรื้อรัง (CKD stage 3, 4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆตามดุลยพินิจของแพทย์
7. ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

มาตรการที่ต้องทำอย่างเคร่งครัด เมื่อต้อง Home isolation
1. ห้ามผู้ใดมาเยี่ยมที่บ้าน
2. ไม่เข้าใกล้หรือสัมผัสผู้สูงอายุหรือเด็กอย่างเด็ดขาด รักษาระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
3. แยกห้องพักและของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น หากแยกห้องไม่ได้ควรแยกบริเวณที่นอนให้ห่างจากคนอื่นมากที่สุด และควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ควรนอนร่วมกันในห้องปิดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
4. ห้ามรับประทานอาหารร่วมกัน และควรรับประทานในห้องตนเอง
5. ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากไม่ได้อยู่คนเดียว
6. ล้างมือด้วยสบู่หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่จำเป็นจะต้องสัมผัสกับผู้อื่น หรือหยิบจับของที่จะต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น
7. แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้คนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำและหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ และต้องแยกขยะออกจากผู้อื่นด้วย

การสนับสนุนการกักตัวที่บ้าน Home isolation
1. อุปกรณ์ประเมินอาการ คือ ปรอทวัดไข้และเครื่องมือออกซิเจนในเลือด
2. การประเมินอาการผ่านระบบ Telemedicine โดยแพทย์และพยาบาลทุกวัน
3. ผู้ป่วยโควิด 19 หลังประเมินอาการในแต่ละวัน การให้ยารับประทาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
4. อาหาร 3 มื้อ และติดตามประเมินอาการ และให้คำปรึกษา
5. หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลง ให้แจ้งทีมแพทย์ และรีบนำส่งโรงพยาบาล

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยในการสังเกตอาการตนเอง
• ให้สังเกตอาการตนเอง วัดอุณหภูมิและ oxygen saturation ทุกวัน
• หากมีอาการแย่ลง คือ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เช่น หอบ เหนื่อย ไข้สูงลอย ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่
• เมื่อจะต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับ ไม่ใช้รถสาธารณะ ให้ทุกคนในรถใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทาง หากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้